การติดเชื้อโควิด-19ซ้ำอีกรอบ หลังจากเคยป่วยมาแล้ว คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตยังคงสูงอย่างต่อเนื่องท่ามการระบาดของ “โอมิครอน” ดูหนังซับไทย
วันที่ 7 เมษายน 2565 ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายจากอาการป่วยทุกคนมีสิทธิได้รับเชื้ออีกครั้ง หากไม่ดูแลป้องกันตนเองและผู้อื่นอย่างเคร่งครัด แต่การติดเชื้อซ้ำอีกรอบจะแตกต่างจากครั้งแรก โดยมีปัจจัยในส่วนของสายพันธุ์ และการเว้นระยะห่างของการติดเชื้อเข้ามาเกี่ยวข้อง
ติดโควิดซ้ำ เกิดจากอะไร
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่คลิปอธิบายเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 แล้วสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก อีกทั้งยังเน้นย้ำว่า การฉีดวัคซีนเพียง 2 เข็ม ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อของสายพันธุ์โอมิครอนได้ แต่สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้สูง
ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การติดเชื้อซ้ำของ COVID 19 พบได้เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ
เมื่อเชื้อโควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาตลอด และติดง่ายขึ้น โอกาสติดเชื้อซ้ำจึงมากขึ้นอีก การติดเชื้อโควิด 19 จะทำให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นระดับหนึ่ง และเมื่อภูมิต้านทานลดลงก็จะติดเชื้อซ้ำ การติดเชื้อซ้ำหรือครั้งที่ 2 อาการจะลดลงกว่าการติดเชื้อครั้งแรก การติดเชื้อครั้งที่ 3 และ 4 ต่อไป อีกอาการจะยิ่งลดลง
ติดโควิดซ้ำ จากโอมิครอน หรือต่างสายพันธุ์
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค การติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำในระยะเวลา 1 เดือน สามารถเกิดขึ้นได้ ในกรณีต่างสายพันธุ์ เช่น หายป่วยจากการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า จะติดเชื้อซ้ำอีกครั้งเป็นสายพันธุ์โอมิครอน
ส่วนกรณีสายพันธุ์โอมิครอนเหมือนกัน แต่เป็นคนละสายพันธุ์ย่อย เช่น BA.1 กับ BA.2 ยังเป็นเรื่องใหม่ ต้องติดตามรายละเอียดข้อเท็จจริงอีกครั้ง ซึ่งตามหลักแล้วก็มีโอกาส แต่จะมี 1 ในแสนหรือ 1 ในล้าน ต้องดูข้อมูลประกอบ รวมถึงดูระยะเวลาด้วย เนื่องจากเมื่อติดเชื้อแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อ ส่วนใหญ่จะไม่ติดซ้ำในระยะเวลาสั้น ๆ ยกเว้นคนที่มีปัญหาเรื่องการสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย
เช่นเดียวกับ เฟซบุ๊กเพจของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โพสต์ภาพข้อมูลเกี่ยวกับ การติดเชื้อโควิด-19ซ้ำ” ว่า ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อแต่ต่อมาติดเชื้อซ้ำ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ซึ่งจะพบว่า “โอมิครอน” จะเกิดการติดเชื้อซ้ำสูงกว่า “เดลตา” 3-6 เท่า ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ ประกอบด้วย
เกิดในช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ในคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ได้รับไม่ครบ รับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานกว่า 6 เดือน หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เชื้อที่มีการระบาดในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อเดิม
ผู้ป่วยลดมาตรการป้องกันตัวและมีพฤติกรรมเสี่ยง
ติดเชื้อซ้ำ น่ากลัวหรือไม่
ด้านศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ภายในระยะเวลา 1 เดือน เป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะการแพร่ระบาดในช่วงนี้ของประเทศไทยและของโลกเป็นช่วงการเปลี่ยนถ่ายจากโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 มาเป็น BA.2
โดยทาง WHO ยังคงจัดให้ BA.1 และ BA.2 เป็นเพียงสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน และให้คำแนะนำในการป้องกัน ดูแล และรักษา BA.1 และ BA.2 ที่ไม่แตกต่างกัน
ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาการติดเชื้อซ้ำในเดนมาร์ก ช่วง 22 พฤศจิกายน 2564-11 กุมภาพันธ์ 2565 พอจะสรุปได้ว่า ภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อ BA.2 ตามธรรมชาติน่าจะคุ้มครองการติดเชื้อ BA.1 และสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี
No comments:
Post a Comment