วันนี้ (4 เม.ย.2565) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสายพันธุ์ COVID-19 โดยระบุว่า ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) ตรวจพบโอมิคอรนลูกผสมที่ชื่อว่า XE โดยศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้เปิดเผยว่า พบผู้ติดเชื้อ XE ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่าง โอมิครอน BA.1 + BA.2 ในประเทศไทย ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย
นพ.ศุภกิจ ระบุว่า การผสมต่างสายพันธุ์ของ COVID-19 จะใช้ชื่อที่ขึ้นต้นด้วย X ซึ่งบางสายพันธุ์เคยตรวจพบมานานแล้ว เช่น XA ซึ่งผสมระหว่าง B.1.1.7 หรืออัลฟา ผสมกับ B.1.177 พบตั้งแต่เดือน ธ.ค.2563 หรือ XB ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่าง B.1.634 + B.1.631 ซึ่งพบตั้งแต่เดือน ก.ค.2563 และ XC ซึ่งผสมระหว่าง AY.29+B.1.1.7 พบเมื่อปี เดือน ส.ค.2564
การผสมพันธุ์กัน หากไม่มีอิทธิฤทธิ์เรื่องแพร่พันธุ์ การหลบวัคซีน นับว่าไม่ได้มีความหมายอะไรมาก เป็นธรรมชาติของไวรัสที่จะกลายพันธุ์ได้ ซึ่งลูกผสมเหล่านี้อาจหายไปจากโลกแล้ว เพราะไม่ได้มีการรายงานเพิ่มเติม
ทั้งนี้ โอมิครอนลูกผสมอย่างโอมิครอน BA.1 + BA.2 แม้ว่าจะเป็นการผสมกันระหว่างสายพันธุ์เดียวกัน แต่อาจจะมีหลายชื่อ เช่น XG หรือ XH ที่เป็นลูกผสมระหว่าง BA.1 + BA.2 เช่นกันแต่ชื่อต่างกัน เนื่องจากรหัสพันธุกรรมต่างกัน
นพ.ศุภกิจ เปิดเผยอีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 โอมิครอนลูกผสม 1 คน ซึ่งจากการวิเคราะห์และตรวจสอบพบว่า ใกล้เคียงกับรหัสพันธุกรรมของสายพันธุ์ XJ และมั่นใจว่าไม่ใช่สายพันธุ์ XE แน่นอน สำหรับสายพันธุ์ XJ เป็นเชื้อที่มีรายงานพบครั้งแรกในประเทศฟินแลนด์ ทั้งนี้ยังต้องรอผลการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจึงจะสรุปได้ว่าเป็นสายพันธุ์ XJ หรือไม่
คนไข้ที่คาดว่าติดเชื้อสายพันธุ์ XJ เป็นชายไทย อายุ 34 ปี อาชีพพนักงานเดลิเวอรี โดยมีความเสี่ยงเมื่อไปส่งสินค้าอาจพบเจอผู้คนจำนวนมาก และมีโอกาสจะติดเชื้อแบบกลายพันธุ์หรือผสมพันธุ์ได้ง่าย จึงทำให้ติดเชื้ออย่างน้อย 2 สายพันธุ์ในตัวก่อนจะมีลูกผสมออกมา
คนไข้รายนี้ ได้รับการตรวจเชื้อตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. โดยโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน กทม.ส่งตัวอย่างมาให้ตรวจสายพันธุ์ พบประวัติฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มอย่างไรก็ตาม เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวอย่างข้อมูลที่องค์การอนามัยโลกเปิดเผยออกมา เนื่องจากประเทศอังกฤษได้วิเคราะห์ว่าเมื่อเทียบกับ BA.2 มีตัวอย่างของสายพันธุ์ XE เพิ่มขึ้นเร็วกว่าเดิม 10% ทำให้เป็นข้อมูลที่องค์การอนามัยโลก ต้องจับตาดูว่าจะมีคุณสมบัติแพร่เร็วขึ้น รวมถึงความรุนแรงและการหลบภูมิหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ยังมีข้อมูลจำกัด
สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.-1 เม.ย.2565 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ COVID-19 จำนวน 1,933 คน ไม่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์อัลฟาและบีตา แต่ตรวจพบเชื้อเดลตา 3 คน คิดเป็น 0.16% และพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 1,930 คน คิดเป็น 99.84% ทั้งผู้ที่ติดเชื้อในประเทศ และเดินทางมาจากต่างประเทศพบว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอนมากกว่า 99% แล้ว โดยสถานการณ์จะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ แทบไม่มีสายพันธุ์อื่นหลงเหลือในประเทศไทยแล้ว
No comments:
Post a Comment