ถึงวันนี้เราอยู่กับ “โควิด-19” มาแล้วกว่า 3 ปี มีคนทั่วโลกเสียชีวิตไปแล้วกว่า 6.4 ล้านคน (ข้อมูลวันที่ 31 มี.ค. 65) อย่างไรก็ตาม หน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับโลกอย่างองค์การอนามัยโลก มีการประเมินว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตจริงๆ อาจจะมากกว่าสถิติถึง 3 เท่า... รีวิวการ์ตูนอนิเมะ
นอกจากผู้เสียชีวิตแล้ว คนป่วยที่หายกลับมาจำนวนมากก็ไม่เหมือนเดิม เนื่องมาจากอยู่ในภาวะ Long Covid (ลองโควิด) ซึ่งหนึ่งในอาการลองโควิด ก็คือ “อาการผมร่วง” และวันนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสพูดคุยกับ “คุณหมอโบนัส” หรือ รองศาสตราจารย์ ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป หัวหน้าศูนย์โรคเส้นผมและหนังศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เจ้าของรางวัลงานวิจัยระดับโลก ในการรักษาผมร่วงศีรษะล้านจากพันธุกรรม ซึ่งวันนี้มีอยู่ 2 ประเด็น คือ การเปรียบเทียบเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา กับ โอมิครอน ว่าสายพันธุ์ร้ายใดส่งผลกับ “เส้นผม” มากกว่ากัน....
รองศาสตราจารย์ ดร.พญ.รัชต์ธร อธิบายว่า อาการผมร่วงที่เจอกันนั้นคือ อาการ “ผมร่วงฉับพลัน” (Telogen effluvium) และไม่ได้เป็นเพราะโควิด-19 อย่างเดียว แต่เป็นอาการป่วยอะไรก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 5 สาเหตุหลัก ประกอบด้วย
1.อาการเจ็บป่วยที่ทำให้ร่างกายเรามีไข้สูง เกิดผลกระทบทางกาย เช่น ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย หรือการเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ที่จำเป็นต้องดมยาสลบ หรือป่วยหนักเข้าไอซียู
2.ผลกระทบทางจิตใจ ความเครียด เช่น จะเข้าสอบแล้วก็เครียด ก็ทำให้ผมร่วงได้
3.คนที่น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว จะลดแบบความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม อาทิ คนที่ลดน้ำหนักแบบคีโต (Ketogenic diet) ลดการกินแป้งและน้ำตาล โดยคนที่ลดน้ำหนักแบบวิธีนี้ในช่วงแรกผมจะร่วงกันเกือบหมด เท่าที่เจอประมาณ 80%
“หากเข้าไปในกลุ่มที่คุยกันเรื่องนี้ก็จะรู้ว่า มีบางส่วนเกิดอาการผมร่วงฉับพลัน เพราะกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ไม่กินแป้งกับน้ำตาล จะทำให้ร่างกายลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว และการลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็วนี่เองทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ ฉะนั้นหากให้แนะนำ ก็ควรกินบ้างบางมื้อ เช่น กินคีโต 5 วัน รับประทานอาการปกติ 2 วัน เป็นต้น” หมอโบนัส อธิบาย
4.ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาในกลุ่มแอคโนติน และโรแอคคิวเทน ซึ่งเป็นยาในกลุ่มรักษาสิว ซึ่งจากการรายงานทางการแพทย์พบว่า คนที่กินยากลุ่มนี้ใหม่ๆ จะทำให้เกิดผมร่วง รวมถึงยาลดความดัน ยาไขมัน หรือแม้แต่ยาฮอร์โมน ยาคุมกำเนิด ซึ่งถือเป็นยาที่ปรับเปลี่ยนฮอร์โมนในร่างกาย แต่ไม่ได้เป็นทุกคน
5.โรคประจำตัว อาทิ ไทรอยด์ หรือโรคที่เจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ เช่น แพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่สบายเรื้อรัง ก็อาจจะส่งผลให้เส้นผมบางลง หรือผู้หญิงบางคนที่มีฮอร์โมนเพศชายสูง ก็มีโอกาสป่วยโรคผมร่วงฉับพลัน ซึ่งหากสังเกตดีๆ คนที่ป่วยโรคผมร่วงฉับพลันนั้นส่วนใหญ่จะมาจากระบบภายในร่างกาย
หมอผู้เชี่ยวชาญเรื่องเส้นผม ยังเผยต่อว่า นอกจาก 5 สาเหตุดังกล่าวแล้ว ยังพบผู้หญิงวัยรุ่นผมร่วงบ่อยๆ เนื่องจากการมีประจำเดือน สูญเสียเลือด ธาตุเหล็ก อีกทั้งวัยรุ่นส่วนใหญ่เหล่านี้มักจะควบคุมอาหาร กินอาหารน้อยเกินไป ก็ทำให้เกิดอาการผมร่วงฉับพลันได้ และมีผลเรื้อรังในอนาคตได้
No comments:
Post a Comment