Tuesday, April 26, 2022

ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 14,887 ราย เสียชีวิตอีก 125 ราย

 วันนี้ (27 เม.ย.) เมื่อเวลา 07.40 น. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยตัวเลขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า รีวิวหนัง LGBT+ หญิงรักหญิง , ชายรักชาย


 

ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 14,887 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,986,136 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 4,209,571 ราย เสียชีวิต 125 ราย เสียชีวิตสะสม 28,144 ราย หายป่วยกลับบ้าน 18,919 ราย หายป่วยสะสม 1,849,966 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)

ผู้ป่วยกำลังรักษา 162,967 ราย


ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันพุธที่ 27 เมษายน 2565 รวม 14,887 ราย จำแนกเป็น


ผู้ป่วยจากในประเทศ 14,816 ราย

ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 71 ราย

Sunday, April 24, 2022

โควิดวันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 14,994 ราย เสียชีวิตอีก 124 ราย

 วันนี้ (25 เม.ย.) เมื่อเวลา 07.40 น. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยตัวเลขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ดูหนังซับไทย



ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 14,994 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,957,433 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 4,180,868 ราย เสียชีวิต 124 ราย เสียชีวิตสะสม 27,899 ราย หายป่วยกลับบ้าน 23,524 ราย หายป่วยสะสม 1,809,975 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)

ผู้ป่วยกำลังรักษา 174,500 ราย

ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2565 รวม 14,994 ราย จำแนกเป็น


ผู้ป่วยจากในประเทศ 14,951 ราย

ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 43 ราย

รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2565 จำนวน 124 ราย



จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 24 เม.ย. 2565) รวม 132,633,387 โดส ใน 77 จังหวัด


ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 24 เมษายน 2565 ยอดฉีดทั่วประเทศ 68,766 โดส


เข็มที่ 1 : 6,987 ราย

เข็มที่ 2 : 21,225 ราย

เข็มที่ 3 : 40,554 ราย

----------------------------


จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,155,863 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 51,009,258 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 25,468,266 ราย




Saturday, April 23, 2022

โควิดวันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 20,052 ราย เสียชีวิตอีก 129 ราย

 วันนี้ (23 เม.ย.) เมื่อเวลา 07.40 น. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยตัวเลขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย



ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 20,052 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,924,655 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 4,148,090 ราย เสียชีวิต 129 ราย เสียชีวิตสะสม 27,649 ราย หายป่วยกลับบ้าน 22,361 ราย หายป่วยสะสม 1,763,605 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)

ผู้ป่วยกำลังรักษา 188,342 ราย

วันนี้ (23 เม.ย.) เมื่อเวลา 07.40 น. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยตัวเลขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า



ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 20,052 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,924,655 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 4,148,090 ราย เสียชีวิต 129 ราย เสียชีวิตสะสม 27,649 ราย หายป่วยกลับบ้าน 22,361 ราย หายป่วยสะสม 1,763,605 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)

ผู้ป่วยกำลังรักษา 188,342 ราย

จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 22 เม.ย. 2565) รวม 132,279,710 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 22 เมษายน 2565 ยอดฉีดทั่วประเทศ 181,185 โดส

เข็มที่ 1 : 32,711 ราย

เข็มที่ 2 : 66,777 ราย

เข็มที่ 3 : 81,697 ราย



Monday, April 18, 2022

โควิดวันนี้ พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 16,891 ราย เสียชีวิตอีก 129 ราย

 วันนี้ (19 เม.ย.) เมื่อเวลา 07.40 น. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยตัวเลขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย



ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 16,891 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,840,409 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 4,063,844 ราย เสียชีวิต 129 ราย เสียชีวิตสะสม 27,135 ราย หายป่วยกลับบ้าน 24,927 ราย หายป่วยสะสม 1,670,866 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)

ผู้ป่วยกำลังรักษา 197,349 ราย


ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันอังคารที่ 19 เมษายน 2565 รวม 16,891 ราย จำแนกเป็น


ผู้ป่วยจากในประเทศ 16,806 ราย

ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 85 ราย

ไทยเสียชีวิตจากโควิด สูงติดอันดับ 3 ของโลก ผู้ปฏิบัติรอมาตรการเชิงรุก

 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat โดยระบุว่า ข่าวด่วน




เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 451,493 คน ตายเพิ่ม 1,186 คน รวมแล้วติดไปรวม 504,655,744 คน เสียชีวิตรวม 6,222,757 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย




เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 88.17 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 87.94

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 44.54 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 45.69



สถานการณ์ระบาดของไทย

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก

ทั้งนี้ จำนวนคนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 23.61% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

เปรียบเทียบสถิติรายสัปดาห์

ทั่วโลกจำนวนติดเชื้อใหม่ลดลง 25% และเสียชีวิตลดลง 23%

หากดูเฉพาะทวีปเอเชีย จะพบว่าจำนวนติดเชื้อใหม่ลดลงถึง 28% และเสียชีวิตลดลง 23% เท่ากับค่าเฉลี่ยของทั่วโลก

แต่สำหรับไทยเรานั้น จำนวนติดเชื้อใหม่ลดลง 11% (ลดลงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของทวีปเอเชียและของทั่วโลก) และจำนวนเสียชีวิตยังคงเพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าถึง 19%

ข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เราเห็นว่า การระบาดของไทยยังคงรุนแรงเมื่อเทียบกับภาพรวมของทวีปเอเชียและของโลก นอกจากนี้ตัวเลขทางการนั้นก็ยังไม่ได้รวมจำนวนที่ตรวจ ATK อีกด้วย ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตก็เพิ่มขึ้นสวนกระแสโลกอย่างชัดเจน

นโยบายและมาตรการควบคุมป้องกันโรคที่ผ่านมานั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และจำเป็นจะต้องได้รับการทบทวน...หากเห็นคุณค่าของชีวิต...


อัปเดตเรื่อง Long COVID

ล่าสุด Chen C และทีมงานจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการทบทวนข้อมูลวิชาการทั่วโลกอย่างเป็นระบบจนถึง 13 มีนาคม 2565 และทำการวิเคราะห์อภิมาน เพื่อดูอัตราการเกิดภาวะ Long COVID หรือ Post COVID conditions ในผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์สากลด้านโรคติดเชื้อ Journal of Infectious Diseases เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ทบทวนงานวิจัย 50 ชิ้น และนำ 41 ชิ้นมาวิเคราะห์อภิมาน

ผลการศึกษาพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วทั่วโลกผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จะประสบปัญหา Long COVID สูงถึง 43% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 39%-46%)

ทั้งนี้ คนที่ติดเชื้อแล้วป่วยจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจะเกิดปัญหา Long COVID ได้ 54% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 44%-63%) ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่ติดเชื้อแต่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลที่พบว่ามีปัญหา Long COVID 34% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 25%-46%)

ถ้าเปรียบเทียบระหว่างทวีป จะพบว่า ทวีปเอเชียมีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่ประสบปัญหา Long COVID สูงที่สุดคือ 51% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 37%-65%) โดยทวีปยุโรปพบประมาณ 44% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 32%-56%) และทวีปอเมริกาเหนือ 31% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 21%-43%)

ดังนั้น จึงสะท้อนให้เราเห็นว่าปัญหาผลกระทบระยะยาวจาก Long COVID นั้นเป็นเรื่องที่พบบ่อยกว่าที่คาดการณ์ และจะบั่นทอนสมรรถนะในการดำเนินชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์ และการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศในระยะยาว

ติดเชื้อจึงไม่ได้จบแค่หายหรือตาย แต่จะมี Long COVID เป็นเส้นทางที่ 3 ซึ่งทางเส้นนี้เป็นทางที่ขรุขระและยาวไกล

โปรดอย่าหลงคำลวง ภาพลวง ว่ามันกระจอก ก็แค่หวัดธรรมดา เอาอยู่ แป๊บเดียวก็หาย แว่บเดียวก็ประจำถิ่น...เพราะสุดท้ายแล้วคนรับกรรมคือคนที่หลงเชื่อแล้วทำตัวดี๊ด๊า ไม่ป้องกัน ส่วนกลุ่มลวงโลกก็ลอยตัว ไม่สนใจ และไม่รับผิดชอบ

การใช้ชีวิต ทำมาหากิน หรือศึกษาเล่าเรียนนั้น...ทำได้แน่นอน...แต่ต้องมีสติ ปรับกระบวนการต่างๆ ให้ปลอดภัย เลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง และสถานที่เสี่ยง และป้องกันตัวอย่างเป็นกิจวัตร

Saturday, April 16, 2022

เอาอีกแล้ว สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5

 มาเรีย แวน เคอร์คอฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุ สายพันธุ์ย่อย  BA.4 และ BA.5 กำลังระบาดในบอตสวานา แอฟริกาใต้ เยอรมนี  เดนมาร์ก รวมถึงประเทศอื่นๆ แต่ดูเหมือนว่าความเร็วในการติดต่อและความรุนแรงจะไม่อันตรายถึงชีวิตเมื่อเทียบกับสายพันธุ์โอมิครอนดั้งเดิม แต่ยังคงต้องเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงกรณีที่พบผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น รีวิวหนัง LGBT+ หญิงรักหญิง , ชายรักชาย



“มันยังเป็นช่วงแรกๆ ของการพบสายพันธุ์ย่อยนี้ จึงจำเป็นต้องติดตามความสามารถในการแพร่เชื้อ เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้ได้คำตอบที่ชัดเจน”



ก่อนหน้านี้ องค์การอนามัยโลกได้ติดตามสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน มาแล้ว 4 สายพันธุ์  คือ BA.1, BA.2, BA.3 และ BA.1.1 รวมถึงการมาพร้อมกับสายพันธุ์ย่อยของ BA.2 ที่กำลังระบาดในหลายประเทศทั่วโลก  ทำให้เกิดระลอกใหม่ของผู้ป่วยโควิด


สำหรับ ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.4 รายแรกพบที่แอฟริกาใต้เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ปัจจุบัน ผู้ป่วย BA.4 มีจำนวน 41 ราย ขณะที่ตามรายงานจากหน่วยงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักรพบรายแรกในยุโรปเมื่อวันที่ 8 เม.ย. ในเดนมาร์ก  3 ราย บอตสวานา  2 ราย และอังกฤษ 1 ราย และสกอตแลนด์  1 ราย ส่วน  สายพันธุ์ย่อย BA.5 จำนวน 27 ราย  ทั้งหมดอยู่ในในแอฟริกาใต้

Friday, April 15, 2022

โควิดสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน "XE" โผล่ใหม่อีก! WHO เตือนแพร่เร็วกว่า BA.2

 องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า XE ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ล่าสุดของโอมิครอนนั้น ดูเหมือนว่าจะสามารถแพร่เชื้อได้มากกว่า BA.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนเช่นกัน อยู่ราว 10% แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะมีความรุนแรงขึ้น รีวิวการ์ตูนอนิเมะ



WHO ระบุในรายงานด้านระบาดวิทยารายสัปดาห์ที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 29 มี.ค. ว่า โอมิครอนสายพันธุ์ XE เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์โอมิครอน BA.1 และ BA.2 โดย XE จะยังคงถือเป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนจนกว่าจะมีรายงานที่แสดงถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในด้านการแพร่เชื้อและลักษณะของโรคซึ่งรวมถึงความรุนแรง

รายงานระบุว่า “จากการประมาณการในช่วงแรกบ่งชี้ว่า XE มีอัตราการแพร่เชื้อในชุมชนได้มากกว่าสายพันธุ์ BA.2 อยู่ราว 10% อย่างไรก็ตาม การค้นพบนี้จำเป็นต้องได้รับการยืนยันเพิ่มเติม”

WHO ระบุว่า สายพันธุ์ย่อย BA.2 เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดทั่วโลกในขณะนี้ โดยคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 86% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด

สำหรับไวรัสสายพันธุ์ XE นั้น ได้รับการตรวจพบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 19 ม.ค. และมีผู้ติดเชื้อ XE ที่ได้รับการยืนยันแล้วมากกว่า 600 รายนับตั้งแต่นั้น

ซูซาน ฮอปกิ้นส์ หัวหน้าที่ปรึกษาทางการแพทย์ของสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (HSA) กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปเกี่ยวกับความสามารถในการแพร่เชื้อ ความรุนแรง หรือประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันสายพันธุ์ XE

WHO เปิดเผยว่า จะยังคงติดตามอย่างใกล้ชิดและประเมินความเสี่ยงด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับไวรัสลูกผสมต่างๆ อาทิ สายพันธุ์ XE และจะเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อมีหลักฐานมากขึ้น

ในขณะที่นอกเหนือจากสายพันธุ์ XE แล้ว WHO ยังจับตาโควิดสายพันธุ์ XD ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างเดลตาและโอมิครอน ซึ่งพบส่วนใหญ่ในฝรั่งเศส เดนมาร์ก และเบลเยียม

ทั้งนี้ WHO ยังไม่มีหลักฐานว่า โควิดสายพันธุ์ XD มีความสามารถในการแพร่เชื้อมากขึ้นหรือทำให้เกิดอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

ยอดตายพุ่ง! โควิดวันนี้ เสียชีวิตอีก 119 ราย พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 20,289 ราย

 วันนี้ (15 เม.ย.) เมื่อเวลา 07.40 น. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยตัวเลขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ดูหนังซับไทย  



ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 20,289 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,769,857 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 3,993,292 ราย เสียชีวิต 119 ราย เสียชีวิตสะสม 26,629 ราย หายป่วยกลับบ้าน 24,969 ราย หายป่วยสะสม 1,573,264 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) กำลังรักษา 224,905 ราย



ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันศุกร์ที่ 15 เมษายน 2565 รวม 20,289 ราย จำแนกเป็น


ผู้ป่วยจากในประเทศ 20,221 ราย

ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 68 ราย

Tuesday, April 12, 2022

โควิดวันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 23,015 ราย เสียชีวิตอีก 106 ราย

 วันนี้ (13 เม.ย.) เมื่อเวลา 07.40 น. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยตัวเลขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย



ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 23,015 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,725,434 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 3,948,869 ราย เสียชีวิต 106 ราย เสียชีวิตสะสม 26,395 ราย หายป่วยกลับบ้าน 27,626 ราย หายป่วยสะสม 1,521,298 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) กำลังรักษา 232,682 ราย


ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันพุธที่ 13 เมษายน 2565 รวม 23,015 ราย จำแนกเป็น


ผู้ป่วยจากในประเทศ 22,920 ราย

ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 95 ราย

รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย วันพุธที่ 13 เมษายน 2565 จำนวน 106 ราย



ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 12 เมษายน 2565 ยอดฉีดทั่วประเทศ 122,962 โดส


เข็มที่ 1 : 25,036 ราย

เข็มที่ 2 : 24,875 ราย

เข็มที่ 3 : 73,051 ราย

----------------------------


จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 55,965,161 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 50,635,127 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 24,848,220 ราย




1 ใน 4 หมื่น! พยาบาลได้รับวัคซีนโควิด 4 เข็ม ติดเชื้อโอมิครอนเดือนเดียว 2 ครั้ง

 "หมอมนูญ" เผยพยาบาลสาววัย 27 ปี ได้รับวัคซีนโควิด 4 เข็ม แต่ยังติดเชื้อโอมิครอน 2 ครั้งในรอบ 1 เดือน ถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก ประมาณ 1 ใน 4 หมื่นคนเท่านั้น ข่าวบันเทิง




วันนี้ (11 เม.ย.) นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC เกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน โดยมีรายละเอียด ดังนี้


"คนที่ได้รับวัคซีนครบโดสและได้เข็มกระตุ้นแล้ว ยังติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน 2 ครั้งใน 1 เดือน


ผู้ป่วยหญิงอายุ 27 ปี เป็นพยาบาล ปกติแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มียาประจำ ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม และไฟเซอร์ 2 เข็ม เข็มสุดท้ายเดือนมกราคม 2565


วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 มีอาการระคายคอ หลังจากใกล้ชิดกับคนในบ้านที่ติดเชื้อไวรัสโควิด ตรวจ RT-PCR SARS-CoV-2 ให้ผลบวก RdRp/N gene Ct Value 30.59 มีอาการเล็กน้อย หลังจากกักตัวที่บ้าน 10 วัน กลับมาทำงานได้


วันที่ 19 มีนาคม 2565 มีอาการเจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก


วันที่ 23 มีนาคม 2565 ตรวจ ATK ให้ผลบวก ยืนยันโดยการตรวจ RT-PCR SARS-CoV-2 ให้ผลบวก RdRp/N gene Ct Value 2.96 เอกซเรย์ปอดปกติ ครั้งนี้ไม่ทราบว่าติดจากใคร อาการไม่มาก ไม่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล หลังกักตัวที่บ้าน 10 วัน หายเป็นปกติ กลับมาทำงานได้ (ผู้ป่วยอนุญาตให้เผยแพร่ภาพ)


การฉีดวัคซีน 4 เข็ม ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ลดการป่วยหนักและเสียชีวิต ผู้ป่วยรายนี้ได้รับวัคซีน 2 เข็มแรกเป็นวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็มหลังเป็นวัคซีน mRNA ได้วัคซีนไฟเซอร์เข็มสุดท้าย 1 เดือนก่อนที่จะติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนครั้งแรก และติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนครั้งที่ 2 อีก 1 เดือนถัดมา

Sunday, April 10, 2022

ยอดดับยังเกินร้อย! โควิดวันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 22,387 ราย เสียชีวิตอีก 105 ราย

วันนี้ (11 เม.ย.) เมื่อเวลา 07.40 น. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยตัวเลขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาด COVID-19



ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 22,387 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,682,437 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 3,905,872 ราย เสียชีวิต 105 ราย เสียชีวิตสะสม 26,188 ราย หายป่วยกลับบ้าน 27,680 ราย หายป่วยสะสม 1,465,615 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) กำลังรักษา 245,575 ราย



ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2565 รวม 22,387 ราย จำแนกเป็น

ผู้ป่วยจากในประเทศ 22,300 ราย

ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 87 ราย




Thursday, April 7, 2022

ติดโควิดซ้ำ สายพันธุ์โอมิครอน อันตรายแค่ไหน มีสาเหตุมาจากอะไร

 การติดเชื้อโควิด-19ซ้ำอีกรอบ หลังจากเคยป่วยมาแล้ว คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตยังคงสูงอย่างต่อเนื่องท่ามการระบาดของ “โอมิครอน” ดูหนังซับไทย



วันที่ 7 เมษายน 2565 ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายจากอาการป่วยทุกคนมีสิทธิได้รับเชื้ออีกครั้ง หากไม่ดูแลป้องกันตนเองและผู้อื่นอย่างเคร่งครัด แต่การติดเชื้อซ้ำอีกรอบจะแตกต่างจากครั้งแรก โดยมีปัจจัยในส่วนของสายพันธุ์ และการเว้นระยะห่างของการติดเชื้อเข้ามาเกี่ยวข้อง


ติดโควิดซ้ำ เกิดจากอะไร

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่คลิปอธิบายเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 แล้วสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก อีกทั้งยังเน้นย้ำว่า การฉีดวัคซีนเพียง 2 เข็ม ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อของสายพันธุ์โอมิครอนได้ แต่สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้สูง

ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การติดเชื้อซ้ำของ COVID 19 พบได้เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ

เมื่อเชื้อโควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาตลอด และติดง่ายขึ้น โอกาสติดเชื้อซ้ำจึงมากขึ้นอีก การติดเชื้อโควิด 19 จะทำให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นระดับหนึ่ง และเมื่อภูมิต้านทานลดลงก็จะติดเชื้อซ้ำ การติดเชื้อซ้ำหรือครั้งที่ 2 อาการจะลดลงกว่าการติดเชื้อครั้งแรก การติดเชื้อครั้งที่ 3 และ 4 ต่อไป อีกอาการจะยิ่งลดลง


ติดโควิดซ้ำ จากโอมิครอน หรือต่างสายพันธุ์

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค การติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำในระยะเวลา 1 เดือน สามารถเกิดขึ้นได้ ในกรณีต่างสายพันธุ์ เช่น หายป่วยจากการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า จะติดเชื้อซ้ำอีกครั้งเป็นสายพันธุ์โอมิครอน

ส่วนกรณีสายพันธุ์โอมิครอนเหมือนกัน แต่เป็นคนละสายพันธุ์ย่อย เช่น BA.1 กับ BA.2 ยังเป็นเรื่องใหม่ ต้องติดตามรายละเอียดข้อเท็จจริงอีกครั้ง ซึ่งตามหลักแล้วก็มีโอกาส แต่จะมี 1 ในแสนหรือ 1 ในล้าน ต้องดูข้อมูลประกอบ รวมถึงดูระยะเวลาด้วย เนื่องจากเมื่อติดเชื้อแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อ ส่วนใหญ่จะไม่ติดซ้ำในระยะเวลาสั้น ๆ ยกเว้นคนที่มีปัญหาเรื่องการสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย

เช่นเดียวกับ เฟซบุ๊กเพจของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โพสต์ภาพข้อมูลเกี่ยวกับ การติดเชื้อโควิด-19ซ้ำ” ว่า ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อแต่ต่อมาติดเชื้อซ้ำ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ซึ่งจะพบว่า “โอมิครอน” จะเกิดการติดเชื้อซ้ำสูงกว่า “เดลตา” 3-6 เท่า ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ ประกอบด้วย

เกิดในช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ในคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ได้รับไม่ครบ รับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานกว่า 6 เดือน หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เชื้อที่มีการระบาดในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อเดิม

ผู้ป่วยลดมาตรการป้องกันตัวและมีพฤติกรรมเสี่ยง

ติดเชื้อซ้ำ น่ากลัวหรือไม่

ด้านศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ภายในระยะเวลา 1 เดือน เป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะการแพร่ระบาดในช่วงนี้ของประเทศไทยและของโลกเป็นช่วงการเปลี่ยนถ่ายจากโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 มาเป็น BA.2

โดยทาง WHO ยังคงจัดให้ BA.1 และ BA.2 เป็นเพียงสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน และให้คำแนะนำในการป้องกัน ดูแล และรักษา BA.1 และ BA.2 ที่ไม่แตกต่างกัน

ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาการติดเชื้อซ้ำในเดนมาร์ก ช่วง 22 พฤศจิกายน 2564-11 กุมภาพันธ์ 2565 พอจะสรุปได้ว่า ภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อ BA.2 ตามธรรมชาติน่าจะคุ้มครองการติดเชื้อ BA.1 และสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี


5 สาเหตุ “ผมร่วงฉับพลัน” เดลตา VS โอมิครอน ผลพวงผมร่วงที่แตกต่าง

 ถึงวันนี้เราอยู่กับ “โควิด-19” มาแล้วกว่า 3 ปี มีคนทั่วโลกเสียชีวิตไปแล้วกว่า 6.4 ล้านคน (ข้อมูลวันที่ 31 มี.ค. 65) อย่างไรก็ตาม หน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับโลกอย่างองค์การอนามัยโลก มีการประเมินว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตจริงๆ อาจจะมากกว่าสถิติถึง 3 เท่า... รีวิวการ์ตูนอนิเมะ  



นอกจากผู้เสียชีวิตแล้ว คนป่วยที่หายกลับมาจำนวนมากก็ไม่เหมือนเดิม เนื่องมาจากอยู่ในภาวะ Long Covid (ลองโควิด) ซึ่งหนึ่งในอาการลองโควิด ก็คือ “อาการผมร่วง” และวันนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสพูดคุยกับ “คุณหมอโบนัส” หรือ รองศาสตราจารย์ ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป หัวหน้าศูนย์โรคเส้นผมและหนังศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เจ้าของรางวัลงานวิจัยระดับโลก ในการรักษาผมร่วงศีรษะล้านจากพันธุกรรม ซึ่งวันนี้มีอยู่ 2 ประเด็น คือ การเปรียบเทียบเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา กับ โอมิครอน ว่าสายพันธุ์ร้ายใดส่งผลกับ “เส้นผม” มากกว่ากัน....


รองศาสตราจารย์ ดร.พญ.รัชต์ธร อธิบายว่า อาการผมร่วงที่เจอกันนั้นคือ อาการ “ผมร่วงฉับพลัน” (Telogen effluvium) และไม่ได้เป็นเพราะโควิด-19 อย่างเดียว แต่เป็นอาการป่วยอะไรก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 5 สาเหตุหลัก ประกอบด้วย



1.อาการเจ็บป่วยที่ทำให้ร่างกายเรามีไข้สูง เกิดผลกระทบทางกาย เช่น ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย หรือการเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ที่จำเป็นต้องดมยาสลบ หรือป่วยหนักเข้าไอซียู

2.ผลกระทบทางจิตใจ ความเครียด เช่น จะเข้าสอบแล้วก็เครียด ก็ทำให้ผมร่วงได้

3.คนที่น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว จะลดแบบความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม อาทิ คนที่ลดน้ำหนักแบบคีโต (Ketogenic diet) ลดการกินแป้งและน้ำตาล โดยคนที่ลดน้ำหนักแบบวิธีนี้ในช่วงแรกผมจะร่วงกันเกือบหมด เท่าที่เจอประมาณ 80%

“หากเข้าไปในกลุ่มที่คุยกันเรื่องนี้ก็จะรู้ว่า มีบางส่วนเกิดอาการผมร่วงฉับพลัน เพราะกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ไม่กินแป้งกับน้ำตาล จะทำให้ร่างกายลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว และการลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็วนี่เองทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ ฉะนั้นหากให้แนะนำ ก็ควรกินบ้างบางมื้อ เช่น กินคีโต 5 วัน รับประทานอาการปกติ 2 วัน เป็นต้น” หมอโบนัส อธิบาย

4.ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาในกลุ่มแอคโนติน และโรแอคคิวเทน ซึ่งเป็นยาในกลุ่มรักษาสิว ซึ่งจากการรายงานทางการแพทย์พบว่า คนที่กินยากลุ่มนี้ใหม่ๆ จะทำให้เกิดผมร่วง รวมถึงยาลดความดัน ยาไขมัน หรือแม้แต่ยาฮอร์โมน ยาคุมกำเนิด ซึ่งถือเป็นยาที่ปรับเปลี่ยนฮอร์โมนในร่างกาย แต่ไม่ได้เป็นทุกคน

5.โรคประจำตัว อาทิ ไทรอยด์ หรือโรคที่เจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ เช่น แพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่สบายเรื้อรัง ก็อาจจะส่งผลให้เส้นผมบางลง หรือผู้หญิงบางคนที่มีฮอร์โมนเพศชายสูง ก็มีโอกาสป่วยโรคผมร่วงฉับพลัน ซึ่งหากสังเกตดีๆ คนที่ป่วยโรคผมร่วงฉับพลันนั้นส่วนใหญ่จะมาจากระบบภายในร่างกาย



หมอผู้เชี่ยวชาญเรื่องเส้นผม ยังเผยต่อว่า นอกจาก 5 สาเหตุดังกล่าวแล้ว ยังพบผู้หญิงวัยรุ่นผมร่วงบ่อยๆ เนื่องจากการมีประจำเดือน สูญเสียเลือด ธาตุเหล็ก อีกทั้งวัยรุ่นส่วนใหญ่เหล่านี้มักจะควบคุมอาหาร กินอาหารน้อยเกินไป ก็ทำให้เกิดอาการผมร่วงฉับพลันได้ และมีผลเรื้อรังในอนาคตได้

Wednesday, April 6, 2022

ไทยพบหนุ่มเดลิเวอรี่ติดโอมิครอนลูกผสม BA.1 + BA.2 คาดเป็นสายพันธุ์ XJ

 วันนี้ (4 เม.ย.2565) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสายพันธุ์ COVID-19 โดยระบุว่า ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) ตรวจพบโอมิคอรนลูกผสมที่ชื่อว่า XE โดยศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้เปิดเผยว่า พบผู้ติดเชื้อ XE ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่าง โอมิครอน BA.1 + BA.2 ในประเทศไทย ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย 



นพ.ศุภกิจ ระบุว่า การผสมต่างสายพันธุ์ของ COVID-19 จะใช้ชื่อที่ขึ้นต้นด้วย X ซึ่งบางสายพันธุ์เคยตรวจพบมานานแล้ว เช่น XA ซึ่งผสมระหว่าง B.1.1.7 หรืออัลฟา ผสมกับ B.1.177 พบตั้งแต่เดือน ธ.ค.2563 หรือ XB ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่าง B.1.634 + B.1.631 ซึ่งพบตั้งแต่เดือน ก.ค.2563 และ XC ซึ่งผสมระหว่าง AY.29+B.1.1.7 พบเมื่อปี เดือน ส.ค.2564


การผสมพันธุ์กัน หากไม่มีอิทธิฤทธิ์เรื่องแพร่พันธุ์ การหลบวัคซีน นับว่าไม่ได้มีความหมายอะไรมาก เป็นธรรมชาติของไวรัสที่จะกลายพันธุ์ได้ ซึ่งลูกผสมเหล่านี้อาจหายไปจากโลกแล้ว เพราะไม่ได้มีการรายงานเพิ่มเติม


ทั้งนี้ โอมิครอนลูกผสมอย่างโอมิครอน BA.1 + BA.2 แม้ว่าจะเป็นการผสมกันระหว่างสายพันธุ์เดียวกัน แต่อาจจะมีหลายชื่อ เช่น XG หรือ XH ที่เป็นลูกผสมระหว่าง BA.1 + BA.2 เช่นกันแต่ชื่อต่างกัน เนื่องจากรหัสพันธุกรรมต่างกัน



นพ.ศุภกิจ เปิดเผยอีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 โอมิครอนลูกผสม 1 คน ซึ่งจากการวิเคราะห์และตรวจสอบพบว่า ใกล้เคียงกับรหัสพันธุกรรมของสายพันธุ์ XJ และมั่นใจว่าไม่ใช่สายพันธุ์ XE แน่นอน สำหรับสายพันธุ์ XJ เป็นเชื้อที่มีรายงานพบครั้งแรกในประเทศฟินแลนด์ ทั้งนี้ยังต้องรอผลการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจึงจะสรุปได้ว่าเป็นสายพันธุ์ XJ หรือไม่

คนไข้ที่คาดว่าติดเชื้อสายพันธุ์ XJ เป็นชายไทย อายุ 34 ปี อาชีพพนักงานเดลิเวอรี โดยมีความเสี่ยงเมื่อไปส่งสินค้าอาจพบเจอผู้คนจำนวนมาก และมีโอกาสจะติดเชื้อแบบกลายพันธุ์หรือผสมพันธุ์ได้ง่าย จึงทำให้ติดเชื้ออย่างน้อย 2 สายพันธุ์ในตัวก่อนจะมีลูกผสมออกมา


คนไข้รายนี้ ได้รับการตรวจเชื้อตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. โดยโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน กทม.ส่งตัวอย่างมาให้ตรวจสายพันธุ์ พบประวัติฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มอย่างไรก็ตาม เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวอย่างข้อมูลที่องค์การอนามัยโลกเปิดเผยออกมา เนื่องจากประเทศอังกฤษได้วิเคราะห์ว่าเมื่อเทียบกับ BA.2 มีตัวอย่างของสายพันธุ์ XE เพิ่มขึ้นเร็วกว่าเดิม 10% ทำให้เป็นข้อมูลที่องค์การอนามัยโลก ต้องจับตาดูว่าจะมีคุณสมบัติแพร่เร็วขึ้น รวมถึงความรุนแรงและการหลบภูมิหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ยังมีข้อมูลจำกัด

สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.-1 เม.ย.2565 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ COVID-19 จำนวน 1,933 คน ไม่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์อัลฟาและบีตา แต่ตรวจพบเชื้อเดลตา 3 คน คิดเป็น 0.16% และพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 1,930 คน คิดเป็น 99.84% ทั้งผู้ที่ติดเชื้อในประเทศ และเดินทางมาจากต่างประเทศพบว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอนมากกว่า 99% แล้ว โดยสถานการณ์จะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ แทบไม่มีสายพันธุ์อื่นหลงเหลือในประเทศไทยแล้ว

"หมอมนูญ" เปิดเผยเจอแล้ว ผู้ป่วยติดเชื้อซ้ำ 3 ครั้ง 3 สายพันธุ์

 นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC พบผู้ป่วยโควิด-19 ติดเชื้อซ้ำ...