Saturday, March 26, 2022

โอมิครอนกลืนไทยหมด เจอเดลตาครอน 73 ราย-หายแล้ว หมอชี้ไม่น่าห่วง

 อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ชี้ โอมิครอนครองไทยแล้วร้อยเปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันตรวจพบ “เดลตาครอน” แล้ว 73 รายวงเสวนาจําเป็นต้อง ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกคนหวั่นเชื้อร่วมก่ออาการ รุนแรงมากขึ้นด้าน ศบค.รายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ 25,164 ราย เสียชีวิต 80 ราย ส่วน จ.อุบลราชธานี วันเดียวติดเชื้อพุ่งกว่า 2.6 พันราย ด้านคนบันเทิง แจ้งติดโควิดรายวัน นักร้องดัง “ติ๊นา-ปั๊บ โปเตโต้” ไม่รอดเช่นกัน ข่าวบันเทิง



สถานการณ์โควิด-19 ยังน่าเป็นห่วง หลังมี หลายฝ่ายออกโรงเตือนหลังสงกรานต์อาจเกิดคลัสเตอร์ ใหญ่อีกระลอก โดยเฉพาะผู้สูงอายุอีกนับล้านที่ยัง ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกัน



ติดเชื้อ 2.5 หมื่น ตาย 80

เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์โควิด-19ว่าพบผู้ติดเชื้อ รายใหม่ 25,164 รายติดเชื้อในประเทศ 25,073 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 24,984 ราย จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 139 รายจากเรือนจํา 43 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 48 ราย หายป่วยเพิ่มขึ้น24,770 รายอยู่ระหว่างรักษา237,128 ราย อาการหนัก 1,496 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 562 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 80 ราย เป็นชาย 42 ราย หญิง 38 ราย อายุ 60 ปีขึ้นไป 59 ราย มีโรคเรื้อรัง 15 ราย ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 6 ราย ขณะนี้มียอด ผู้ติดเชื้อสะสมยืนยันตั้งแต่ปี 2563 จํานวน 3,428,956 ราย มียอดหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จํานวน 3,162,381 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จํานวน 24,497 ราย ส่วนยอดฉีดวัคซีนวันที่ 22 มี.ค. จํานวน 169,542 โดสยอดฉีดสะสมตั้งแต่วันที่ 28ก.พ. 2564 จํานวน 127,658,569 โดส สถานการณ์โลกมี ผู้ติดเชื้อสะสม 474,671,591 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 6,122,360 ราย สําหรับ 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ กทม. 3,878 ราย ชลบุรี 1,484 ราย นครศรีธรรมราช 1,188 ราย สมุทรปราการ 869 ราย สมุทรสาคร 732 ราย สงขลา 700 ราย นนทบุรี 646 ราย ฉะเชิงเทรา 605 ราย ราชบุรี 575 ราย และบุรีรัมย์ 547 ราย

Thursday, March 24, 2022

ศบค.รายงายยอดผู้ฉีดวัคซีนสะสมล่าสุด 127.6 ล้านโดสแล้ว

 ศบค. รายงานยอดฉีดวัคซีนวันนี้ สะสมแล้ว 127,658,569 โดส มีผู้เข้ารับวัคซีนรายใหม่วานนี้เพิ่ม 169,542 โดส เข็มที่ 3 ฉีดเพิ่มอีกจำนวน 93,327 ราย ขยับเป็น 32.4% ของประชากร ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย



วันที่ 23 มีนาคม 2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เปิดเผยผลการฉีดวัคซีน วันที่ 22 มี.ค. 2565 มีรายละเอียดดังนี้

ผู้เข้ารับวัคซีนรายใหม่ 169,542 โดส แบ่งเป็น

เข็มที่ 1 จำนวน 59,350 ราย

เข็มที่ 2 จำนวน 16,865 ราย

เข็มที่ 3 จำนวน 93,327 ราย





ส่วนยอดการฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 2564-22 มี.ค. 2565 รวมฉีดสะสมอยู่ที่ 127,658,569 โดส

เข็มที่ 1 สะสมแล้ว 54,972,110 ราย คิดเป็น 79.0% ของประชากร

เข็มที่ 2 สะสมแล้ว 50,143,878 ราย คิดเป็น 72.1% ของประชากร

เข็มที่ 3 สะสมแล้ว 22,542,581 ราย คิดเป็น 32.4% ของประชากร



Wednesday, March 23, 2022

โอมิครอนครองพื้นที่ระบาดในไทย99.95% ปิดโอกาสพัฒนาเป็น"เดลตาครอน"

 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ว่า จากการเฝ้าระวังโควิดข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 64- 18 มี.ค.65 พบว่า ขณะนี้เป็นสายพันธุ์โอมิครอน 99.95% หรือเกือบ 100% แล้ว พบเดลตาแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้น เท่ากับว่า โอกาสที่จะพบการกลายพันธุ์ หรือ ไวรัสพัฒนาเป็นเดลตาครอนแทบไม่มีแล้ว เนื่องจากไม่มีเชื้อเดลตาหลงเหลืออยู่ ข่าวศิลปิน




ขณะเดียวกันพบว่า สายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน ที่พบในไทย สัดส่วนของ BA.2 เพิ่มมากขึ้น จากสัปดาห์ก่อน 18% เป็น 78.5% เรียกว่า เบียดสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ  โดย BA.2  มีความสามารถในการแพร่โรคเร็วกว่า  BA.1 ถึง 1.4 เท่า

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า หากมองในรายละเอียดของผู้เสียชีวิตจะพบว่า เป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ BA.2 ถึง 60.64%  แต่ไม่ได้หมายความว่า เชื้อ BA.2 มีความรุนแรง หรือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเนื่องจากการป่วยและติดเชื้อในต้องใช้เวลานานกว่า 2 สัปดาห์ถึงจะมีอาการรุนแรง  ส่วนสายพันธุ์ย่อยลงไปของ BA.2 ที่พบในต่างประเทศ ฮ่องกง  BA.22 หรือ  BA.23 ยังไม่มีรายงานเพิ่ม  

ส่วนกรณีของเดลตาครอน ที่มีการติดตามของ GISAID นั้น พบว่า ในการรายงานผลที่ทั่วโลกที่การส่งข้อมูลไปให้ ยืนยัน กว่า 4,000-5,000 ตัวอย่างในจำนวนนี้ก็มีตัวอย่างของไทยที่ ส่งไปด้วยเช่นกัน  73 ตัวอย่าง  ทาง  GISAID  ยืนยันให้เป็นเดลตาครอนจริงแค่ 64 ตัวอย่าง พบในฝรั่งเศส 50 ตัวอย่าง ส่วนที่เหลือกระจายในประเทศอื่นๆ โดยนิยามว่าเป็น เดลตาครอน คือ การผสมรวมกันออกลูกหลานกลายเป็นไฮบริด  หรือ เกิดเป็นตัวใหม่ ทั้งนี้ ในส่วนของเดลตาครอนที่พบในไทยเป็นการพบเมื่อราวเดือนธันวาคม ไม่ใช่ตอนนี้เพราะขณะนี้ไม่หลงเหลือในไทยมากแล้ว และผู้ป่วยส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้มีอาการรุนแรง

Tuesday, March 22, 2022

5 อาการ ที่บ่งบอกว่าคุณติดเชื้อโอมิครอน

 จากสถานการณ์ที่ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 ที่มีการกลายพันธุ์เป็น "โอมิครอน" (Omicron) ซึ่งเจ้าสายพันธุ์นี้มีความพิเศษตรงที่สามารถแพร่กระจายได้ง่าย และรวดเร็วกว่าเดิม อีกทั้งยังมีผู้คนติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากขึ้นเรื่อย แม้ก่อนหน้านี้จะมีการเปิดเผย อาการสำคัญหลังจากติดโควิดสายพันโอมิครอน จะแตกต่างจากสายพันธุ์  อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา ที่ ไม่ว่าจะเป็น มีไข้สูง, ไอ และ ไม่ได้กลิ่นไม่รู้รส ปรากฏว่ามีอาการเบาลง ส่วนอาการอื่นยังไม่แน่ชัด ดูหนังซับไทย


กระทั่งล่าสุด ทีมแพทย์จากแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่ตรวจพบเชื้อโอมิครอนนี้เป็นครั้งแรก ได้ค้นพบ 5 อาการสำคัญ ประกอบด้วย 

1. เจ็บคอ 

2. ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย 

3. เหนื่อยมาก 

4. ไอแห้ง 

5. เหงื่อออกตอนกลางคืน แม้จะนอนหลับในห้องแอร์ ซึ่งทำให้เปียกโชกจนคุณอาจต้องลุกขึ้นไปเปลี่ยนเสื้อผ้า

ทั้งนี้อาการดังกล่าวจะแสดงให้เห็นในกลุ่มผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว แต่ถ้าไม่ได้ฉีดวัคซีน อาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่านี้ จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ส่วนวิธีที่ป้องกันโควิดได้ดีที่สุด ยังคงเป็นการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ หลักเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในพื้นที่แออัด รักษาระยะห่าง รับประทานอาหาร 5 หมู่ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างคุมกันให้กับร่างกายอยู่ตลอดเวลา

Monday, March 21, 2022

สธ.ย้ำลูกหลานพา ผู้สูงอายุเร่งฉีดวัคซีนก่อน สงกรานต์ !

สธ.เผย ประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 พบฉีด 2 เข็ม ป้องกันติดโอมิครอนไม่ได้ แต่ยังกันเสียชีวิตได้สูง ฉีดเข็ม 3 ป้องกันติดเชื้อและเสียชีวิตสูง ส่วนเข็ม 4 กันติดเชื้อสูง 82% ยังไม่พบการเสียชีวิต เร่งฉีดเข็มกระตุ้นให้ผู้สูงอายุให้ได้ 70% ก่อนสงกรานต์  รีวิวหนัง LGBT+ หญิงรักหญิง , ชายรักชาย


วันที่ 21 มี.ค. 65 ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน และนพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค แถลงข่าวประสิทธิผลวัคซีนจากการใช้จริงในการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน และแนวทางการให้วัคซีนโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข


นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทย ฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้าใกล้ 80% ฉีดเข็มสองตามมาเกิน 72% แล้ว แต่ฉีดเข็มสามได้ประมาณ 33% ซึ่งข้อมูลผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 19 มีนาคม 2565 จำนวน 2,464 ราย อายุเฉลี่ย 73 ปี อายุน้อยสุด 3 เดือน อายุมากสุด 107 ปี มีหญิงตั้งครรภ์ 2 ราย มีโรคประจำตัว 2,135 ราย มากที่สุด คือ โรคความดันโลหิตสูง ตามด้วย เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไตเรื้อรัง มะเร็ง โรคอ้วน และปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยพบว่า 57% ไม่ได้ฉีดวัคซีน อีก 31% ฉีด 2 เข็ม เกินกว่า 3 เดือน

ทั้งนี้ จากการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนจากการใช้จริงระยะที่มีการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนในพื้นที่เชียงใหม่ โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับคณะทำงานติดตามประสิทธิผลวัคซีนโควิด-19 และคณะทำงานด้านวิชาการ ดำเนินการเก็บข้อมูลช่วงมกราคมและกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า หากฉีด 2 เข็ม ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนได้ ฉีด 3 เข็ม ป้องกันติดเชื้อ 45-68% หากฉีด 4 เข็ม ป้องกันติดเชื้อได้ 82% ส่วนการป้องกันการเสียชีวิต หากฉีด 2 เข็ม ป้องกันได้ 85-93% ฉีด 3 เข็ม ป้องกันได้ 98% ส่วนการฉีด 4 เข็ม ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

Sunday, March 20, 2022

หมอเตือนมั่นล้างมือบ่อยๆ "โอมิครอน" เกาะติดสิ่งของนานถึง 7 วัน

 วันนี้ (12 มี.ค.65) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ถึงผลการทดลองของทีมวิจัยในฮ่องกง ที่มีน่าสนใจ โดยระบุว่า ทีมวิจัยในฮ่องกงได้เปรียบเทียบความเสถียรของไวรัส (ความสามารถที่ไวรัสจะติดเชื้อต่อได้) บนพื้นผิวชนิดต่างๆ ระหว่างโอมิครอน กับ สายพันธุ์ดั้งเดิม ผลการทดลองชิ้นนี้บอกว่า ไวรัสทั้ง 2 สายพันธุ์จะสูญเสียสภาพการติดเชื้อไประดับนึง (ประมาณ 10 เท่า) เกือบทันทีที่อยู่นอกร่างกายและไปติดอยู่บนพื้นผิวต่างๆ แต่หลังจากนั้นจะเห็นความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์โดยโอมิครอนมีแนวโน้มจะอยู่บนพื้นผิวอย่างน้อย 3 ชนิด คือ สแตนเลส พลาสติก และ แก้ว ที่ยาวนานกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ดูเหมือนว่าโอมิครอนจะคงสภาพบนพื้นผิวทั้ง 3 ได้นานถึง 7 วัน ในสภาวะความชื้น และ อุณหภูมิที่ทำการทดลองนี้ แต่บนพื้นผิวกระดาษไวรัสเสียสภาพไวกว่า และ อยู่ได้ไม่นานพอๆ กัน ข่าวประจำวัน




การทดลองนี้ไม่ได้เปรียบเทียบไวรัสในสภาวะอยู่ในอากาศ หรือ aerosol ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่โอมิครอนอาจจะอยู่ในอากาศได้นานกว่าปกติ ซึ่งอาจอธิบายความสามารถในการแพร่กระจายของไวรัสได้ไว และ รวดเร็ว



ข้อสังเกตคือ การศึกษานี้ใช้ปริมาณของละอองฝอยที่มีขนาด 5 ไมโครลิตร ซึ่งใหญ่กว่าละอองฝอยในธรรมชาติมาก ปริมาณไวรัสที่ใช้ก็ค่อนข้างสูง การสูญเสียสภาพของไวรัสประมาณ 10 เท่าหลังเกาะบนพื้นผิวอาจทำให้ละอองฝอยที่มีขนาดเล็กในสภาวะจริงอาจทำให้ไวรัสที่ติดออกมาลดลงไปจนไม่ไปต่อก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาวะของละอองฝอยที่ปล่อยออกมา และ ปริมาณไวรัสที่ออกมาจากผู้ติดเชื้อมักไม่สูงเหมือนที่ทำการทดลอง การใส่หน้ากากอมามัยก็จะช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยลงไปได้อีก ปัจจัยทั้งหมดนี้อาจจำเป็นต้องพิจารณาเพื่อประเมินความเสี่ยง แต่การล้างมือบ่อยๆ คงจำเป็นอยู่ดี

Saturday, March 19, 2022

โควิดวันนี้ ติดเชื้อ 2 ระบบ รวม 50,855 ราย ไทย อยู่อันดับ 16 ของโลก

 ศบค. รายงานสถานการณ์โควิดวันนี้ 20 มี.ค. 65 ติดเชื้อ 24,996 ราย ยอด ATK พบเข้าข่ายอีก 25,859 ราย รวมติดเชื้อวันนี้ 50,855 ราย เสียชีวิต 84 ศพ ป่วยหนัก ใส่เครื่องช่วยหายใจยังเพิ่มขึ้น ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย



วันที่ 20 มีนาคม 2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้



ติดเชื้อในประเทศ 24,792 ราย

ติดเชื้อในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 173 ราย

ติดเชื้อจากต่างประเทศ 31 ราย

รักษาหายเพิ่มขึ้น 22,292 ราย


หายป่วยสะสม 3,089,584 ราย (ตั้งแต่ปี 2563) อยู่ระหว่างรักษาตัว 240,139 ราย แบ่งเป็น ในโรงพยาบาล 71,100 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 169,039 ราย ในจำนวนนี้ใส่เครื่องช่วยหายใจ 521 ราย อาการหนัก 1,432 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 18 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 25.9

มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 84 ศพ ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 24,246 ศพ (ตั้งแต่ปี 2563)


ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 3,353,969 ราย

ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 16 ของโลก




Friday, March 18, 2022

ช็อค !! เกาหลีใต้ผู้ติดเชื้อโควิดวันนี้ 6.2 แสนราย ตาย 429 ราย

 เกาหลีใต้รายงานผู้ติดเชื้อโควิดวันนี้ทะลุ 6.2 แสนราย เสียชีวิต 429 ราย ถือเป็นตัวเลขการติดเชื้อและเสียชีวิตรายวันในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ข่าวประจำวัน 

 



ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกาหลี (KDCA) รายงานว่า เกาหลีใต้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีกกว่า 600,000 รายในวันนี้ (17 มี.ค.) ซึ่งเป็นยอดติดเชื้อรายวันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ทางการเกาหลีใต้เริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด

ข้อมูลจาก KDCA ระบุว่า เกาหลีใต้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในวันนี้ 621,328 ราย ส่งผลให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 8,250,592 ราย โดยตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นรุนแรงถึง 55% ภายในวันเดียว

นอกจากนี้ KDCA ระบุว่า จำนวนผู้เสียชีวิตในวันนี้เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 429 ราย ส่งผลให้ยอดรวมผู้เสียชีวิตสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 11,481 ราย และอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 0.14%

สำนักข่าวยอนฮับรายงานว่า รัฐบาลเกาหลีใต้มีแนวโน้มที่จะประกาศในวันนี้ว่าควรจะรักษามาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมต่อไปหรือควรผ่อนคลายมาตรการ โดยมาตรการที่บังคับใช้ในปัจจุบันนี้ รัฐบาลได้กำหนดเคอร์ฟิวสำหรับภาคธุรกิจไว้ที่เวลา 23.00 น. และอนุญาตให้ประชาชนรวมกลุ่มกันได้ไม่เกิน 6 คน

Tuesday, March 15, 2022

ติดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงพุ่งต่อเนื่อง และเสียชีวิตเพิ่ม 70 ราย

 สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อัพเดตข่าวทั่วไป ข่าววันนี้ ข่าวด่วนทันใจ



 ล่าสุด วันที่ 16 มี.ค.2565 ภาพรวมของการระบาดยังต้องคอยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 23,945 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 3,250,642 ราย ไม่รวม ATK อีก 24,059 ราย สะสม 1,151,165 ราย อีกทั้งยังมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง

โดย วันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 70 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน ม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 2,220 ราย ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 23,918 ราย



นอกจากนี้ ยังมีรายงานถึงผู้ที่กำลังรักษาตัวอยู่ 221,972 ราย ยอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 23,339 ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.2565 จำนวน 836,258 ราย



ส่วน สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 ถึง 16 มี.ค.2565 พบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม 23,945 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ (ม.ค.2565) มีผู้ติดเชื้อสะสมไปแล้ว 1,027,207 ราย

เปรียบเทียบโอมิครอน 3 สายพันธุ์ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

 นับตั้งแต่ที่โควิดเริ่มมีการระบาดครั้งแรกเมื่อ 3 ปีก่อน ก็ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ออกไปมากมาย และสายพันธุ์ล่าสุดคือ “โอมิครอน” ที่ได้มีการค้นพบและเริ่มระบาดครั้งแรกเมื่อปลายปี 2021 ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาสายพันธุ์ย่อยเพิ่มขึ้นรวมเป็น 3 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เรารวมข้อมูลมาให้เปรียบเทียบดังนี้ รีวิวการ์ตูนอนิเมะ




โอมิครอน สายพันธุ์ B.1.1.529 

ค้นพบครั้งแรกที่ทวีปแอฟริกาใต้เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2564 โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้เป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในระดับน่ากังวล มีรหัสไวรัสเป็น B.1.1.529 หรือ BA.1 ปัจจุบันมีการระบาดลามไปในหลายประเทศทั่วโลกแล้วและมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เพราะสามารถแพร่เชื้อและเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น รวมทั้งยังมีแนวโน้มต้านประสิทธิภาพวัคซีนอีกด้วย คนที่เคยติดเชื้อ โควิด-19 มีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้จากโควิดสายพันธุ์โอมิครอน


อย่างไรก็ตามผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้วมักพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเล็กน้อยหรือแทบจะไม่แสดงอาการเลย แต่อาจพบอาการเหล่านี้ได้


อาการโอมิครอน สายพันธุ์ BA.1

อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยเนื้อตัว

ไม่ค่อยมีไข้

จมูกยังได้กลิ่น

ลิ้นยังสามารถรับรสได้

อาจมีอาการไอเล็กน้อย

ปอดอักเสบ

เจ็บคอ

ไอแห้ง

เหงื่อออกมากตอนกลางคืน

โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2

ค้นพบเมื่อเดือนมกราคม 2565 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยข้อมูลล่าสุด (22 ก.พ. 65) ว่าไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน BA.2 แม้จะแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ BA.1 แต่ไม่พบความรุนแรงที่แตกต่างหรือมากไปกว่าสายพันธุ์ BA.1 แต่อย่างใด


ข้อแตกต่างจากโอมิครอน สายพันธุ์ BA.1

สิ่งที่ทำให้โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2 แตกต่างจาก โอมิครอน สายพันธุ์ B.1 คือ สามารถแพร่เชื้อในบ้านได้เร็วกว่าเดิมถึง 10% ซึ่งหมายความว่าเชื้อโควิดที่ระบาดหนักจนเป็นสายพันธุ์หลักในช่วงนี้จะเป็น โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2 นั่นเอง


นอกจากนี้ยังพบว่า โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2 ยังดื้อต่อวัคซีนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย รวมทั้งยังพบว่าใช้ยา “โมโนโคลนอลแอนติบอดี” ที่เคยรักษาผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน สายพันธุ์ BA.1 ได้ จะใช้ไม่ค่อยได้ผลใน โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2 แต่ยังไม่กระทบกับวิธีรักษา เนื่องจากโอมิครอนส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง การรักษาด้วยวิธีอื่นจึงยังได้ผลเหมือนเดิม

โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2.2

ค้นพบเมื่อเดือนมีนาคม 2565 ที่ฮ่องกง ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของโอมิครอนเดิมที่ระบาดอย่างหนักในฮ่องกงจนพัฒนาเป็นสายพันธุ์ใหม่ เป็นสายพันธุ์ที่หลายคนกังวล เพราะมีผู้เสียชีวิตในฮ่องกงเพิ่มสูงขึ้นจนมีสถิติสูงสุดในโลก โดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 30 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่ 0.85 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งในขณะนี้ ยังไม่พบผู้ป่วยโอมิครอน สายพันธุ์ BA.2.2 ในประเทศไทย แต่พบในอินโดนีเซีย บรูไน กัมพูชา และสิงคโปร์แล้ว


ข้อแตกต่างจากโอมิครอน สายพันธุ์ BA.1 และ BA.2

ความแตกต่างจากโอมิครอน สายพันธุ์ BA.1 และสายพันธุ์ BA.2.2 คือล่าสุดศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ทำการหาข้อมูลและคำนวณพบว่าสายพันธุ์ BA.2.2 มีการระบาดเพิ่มขึ้นกว่าทุกสายพันธุ์ประมาณ 35% และที่น่าสังเกตคืออัตราผู้ติดเชื้อ “โอมิครอน” รายใหม่ในทุกประเทศจะมีจำนวนมากขึ้นแต่อัตราผู้เสียชีวิตจะน้อย ขณะที่ในฮ่องกงมีอัตราผู้เสียชีวิตมากสูงที่สุดในโลก

Monday, March 14, 2022

ยอดเสียชีวิตจากโควิด-19 พุ่งสูงถึง 69 ราย

 อัปเดตสถานการณ์ "โควิด-19" วันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 22,130 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 983,520 ราย หายป่วยกลับบ้าน 23,508 ราย เสียชีวิต 69 ศพ ดูหนังซับไทย



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานสถานการณ์ "โควิด-19" ประจำวันเบื้องต้น โดยข้อมูล ณ วันที่ 14 มีนาคม 2565 มีผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 22,130 ราย จำแนกเป็น ผู้ติดเชื้อในประเทศ 22,103 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 27 ราย ผู้ป่วยสะสม 983,520 ราย




ขณะที่ ผู้หายป่วยกลับบ้าน 23,508 ราย ทำให้มีผู้หายป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565) จำนวน 788,794 ราย กำลังรักษา 788,794 ราย และมีผู้เสียชีวิต 69 ศพ.

Friday, March 11, 2022

ยอดติดเชื้อโควิดพุ่งไม่หยุด สะสม 46,338 ราย เสียชีวิตพุ่ง 63 ศพ

 ศบค. รายงานสถานการณ์โควิดวันนี้ 11 มี.ค. 65 ติดเชื้อ 24,792 ราย ยอด ATK พบเข้าข่ายอีก 21,626 ราย รวมติดเชื้อวันนี้ 46,338 ราย เสียชีวิตพุ่ง 63 ศพ ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย

วันที่ 11 มีนาคม 2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้



ติดเชื้อในประเทศ 24,792 ราย

ติดเชื้อในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 158 ราย

ติดเชื้อจากต่างประเทศ 80 ราย

รักษาหายเพิ่มขึ้น 22,065 ราย


หายป่วยสะสม 2,890,076 ราย (ตั้งแต่ปี 2563) อยู่ระหว่างรักษาตัว 222,998 ราย แบ่งเป็น ในโรงพยาบาล 63,553 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 159,445 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนัก 1,255 ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 415 ราย


มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 63 ศพ ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 23,575 ศพ (ตั้งแต่ปี 2563)

ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 3,136,649 ราย

ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 19 ของโลก



สำหรับผู้ติดเชื้อ 24,792 รายใหม่ แบ่งเป็นดังนี้


ผู้ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 24,308 ราย

ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 246 ราย

เรือนจำ/ที่ต้องขัง 158 ราย

ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 80 ราย


ขณะที่สถานการณ์ทั่วโลกนั้นวันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อถึง 1,790,583 รายต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตรวม 6,621 ศพ โดยติดเชื้อมากที่สุดคือ ประเทศเกาหลีใต้


ส่วนยอดการตรวจ ATK วันที่ 11 มี.ค. 65 ตามการรายงานของกระทรวงสาธารณสุข มียอดผู้ติดเชื้อเข้าข่ายจำนวน 21,626 ราย โดยจำนวนนี้ไม่รวมในการรายงานยอดผู้ติดเชื้อใหม่ ซึ่งยืนยันผลด้วย RT-PCR เมื่อรวมกับยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ 24,712 รายใหม่ จะเท่ากับมีผู้ติดเชื้อ 46,338 ราย


สำหรับ 5 อันดับจังหวัดผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 3,171 ราย,  ชลบุรี 1,386 ราย, นครศรีธรรมราช 1,324 ราย, นนทบุรี 971 ราย และสมุทรสาคร 829 ราย

Tuesday, March 8, 2022

“อุเทน” ยืนยันยังคงแจกยารักษาโควิดฟรี

 “อุเทน” เดินหน้า แจกฟรี ยารักษาโควิด-19 ระหว่าง 12-19 มี.ค.นี้ หน้าวัดเบญจมบพิตร เผย เป็นยารักษาติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ แจกมา 2 ปี ไม่พบผลป่วยหนัก-ผลข้างเคียง เสียดายถ้ารัฐไม่ให้ความสำคัญ ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย




วันที่ 9 มี.ค. 65 นายอุเทน ชาติภิญโญ อดีตหัวหน้าพรรคคนไทย เปิดเผยถึงการแจกจ่ายยาป้องกันและรักษาอาการจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้แก่ผู้ป่วยที่สนใจ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ว่า ยังคงแจกจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยโควิด-19 ตามกำหนดการเดิม คือ ระหว่างวันที่ 12-19 มี.ค. 65 ตั้งแต่ 10.00-14.00 น. ณ บริเวณทางเท้าข้างวัดเบญจมบพิตร เขตดุสิต กทม. โดยผู้สนใจสามารถติดต่อประสานงานเบื้องต้นได้ที่ตน โดยตรงทางไลน์ Utain.sh เพื่อให้การจัดกิจกรรมเป็นไปตามมาตรการสาธารณสุขตามที่รัฐกำหนด และตามที่ตนได้แจ้งขออนุญาตกับหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ไว้แล้ว


นานอุเทน กล่าวต่อว่า สำหรับยาที่นำมาแจกจ่ายโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายครั้งนี้ คือ ยาอิริโทรมัยซิน (erythromycin) มีฤทธิ์ในการรักษาอาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ และสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาขนาดใหญ่ทั่วไป ซึ่งตนได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่า ยาดังกล่าวสามารถช่วยป้องกันและรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้ โดยตลอดช่วง 2 ปีที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยมา ส่วนตัวได้สนับสนุนเวชภัณฑ์และยารักษาโควิด-19 ให้แก่ผู้ป่วย และคลัสเตอร์ในหลายพื้นที่ในนามส่วนตัวมาโดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวมาตลอด และยาดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งที่คนได้สนับสนุนไปในหลายภาคส่วน อีกทั้งยังมีนักการเมือง และ ส.ส.บางส่วนมาติดต่อขอรับยาจากตนไปแจกจ่าย ซึ่งก็ปรากฏว่าทำให้หายขาดใน 5-7 วัน โดยไม่พบผู้ทานยาตัวนี้ป่วยหนัก หรือเสียชีวิตแต่อย่างใด และยังไม่มีรายงานว่ามีผลข้างเคียงหลังทานยานี้ด้วย


Saturday, March 5, 2022

บิ๊กตู่ ส่งกำลังใจนักเรียนสอบเข้า ม.1 และ ม.4 ย้ำเด็กติดโควิดมีพื้นที่เฉพาะ

 “พล.อ.ประยุทธ์” ส่งกำลังใจให้นักเรียนสอบคัดเลือกเข้า ม.1 และ ม.4 ขอรักษาสุขภาพ ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข เน้นย้ำเด็กติดโควิดอาการน้อยมีพื้นที่แยกให้สอบโดยเฉพาะ รีวิว หนังใหม่



วันที่ 5 มี.ค. 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในวันที่ 5-7 มี.ค. 2565 เป็นวันกำหนดสอบคัดเลือกสำหรับการรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 ในโรงเรียนแข่งขันสูง และห้องเรียนพิเศษ ประจำปีการศึกษา 2565 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงใยนักเรียนผู้เข้าสอบ โดยมีนโยบายให้นักเรียนที่สมัครสอบมีสิทธิ์เข้าสอบได้ทุกคน แม้จะมาสอบแล้วพบว่ามีความเสี่ยงสูง สงสัยว่าติดโควิด-19

ทั้งนี้ กรมอนามัยยืนยันแล้วว่านักเรียนที่ติดเชื้อโควิด-19 และมีอาการไม่ป่วยหนักหรือมีอาการเล็กน้อยสามารถเข้าสอบได้ และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เห็นชอบให้ผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อยสามารถเข้าสอบเพื่อศึกษาต่อในระดับชั้น ม.1 และ ม.4 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ โดยมีมาตรการจัดสอบสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อย่างเคร่งครัด 

Wednesday, March 2, 2022

'นักไวรัสวิทยา' ยกเคสนิวซีแลนด์คุม 'อัลฟ่า-เดลต้า' ได้ แต่พ่าย 'โอมิครอน' ทั้งที่ฉีดวัคซีนแล้ว78%

 2 มี.ค.2565- ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักไวรัสวิทยา โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า รีวิวหนัง LGBT+ หญิงรักหญิง , ชายรักชาย

นิวซีแลนด์เป็นประเทศระดับต้นๆของโลกที่มีความสามารถในการควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสโรคโควิด-19 ในประเทศได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นรอบแรก รอบแอลฟ่า หรือ แม้แต่เดลต้าก็ทำอะไรประเทศนี้ไม่ได้ จะเห็นได้ว่าจำนวนเคสการติดเชื้ออยู่ในระดับต่ำมากมาตลอด ปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนให้กับประชากรนิวซีแลนด์ครบแล้วที่ 78% ซึ่งทำให้รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการ และ เปิดประเทศรับความเสี่ยงได้มากขึ้น



ตัวเลขวันนี้ล่าสุดนิวซีแลนด์มีผู้ติดเชื้อสูงถึงเกือบ 2 หมื่นคน และ เมื่อดูกราฟแสดงผู้ติดเชื้อจะเห็นได้ชัดมากว่า กราฟสูงเป็นเส้นตรงเกือบ 90 องศากับแกนนอน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อที่ไวมากๆ เป็นการบอกเป็นนัยๆว่า นอกจากโอมิครอนจะแพร่กระจายได้ไวแล้ว ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่คิดว่าน่าจะช่วยให้การระบาดไม่ไปไวอย่างที่คิดคงไม่เป็นไปตามนั้น และ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ได้ภูมิมาจากวัคซีนกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการแพร่กระจายของไวรัสในประชากรมีน้อย ภูมิคุ้มกันแบบ HYBRID ที่คิดว่าจะต่อสู้กับโอมิครอนได้ดี จะมีไม่มากเท่ากับหลายๆประเทศ ที่ผ่านการระบาดมาหลายระลอก




ข้อมูลผู้ป่วยในนิวซีแลนด์น่าจะช่วยบอกได้ว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนช่วยเราได้มากขนาดไหน เพราะ ข้อมูลจากฮ่องกงที่โดนโอมิครอนโจมตีในตอนนี้ สอดคล้องกับผู้ติดเชื้อที่มีไม่มากจากนโยบายเข้มงวดในการป้องกันระลอกระบาดที่ผ่านๆมาก็เห็นภาพการป่วยหนักและเสียชีวิตที่ไม่น้อยเช่นกัน


คำถามที่ตามมาคือ ถ้าประเทศจีนที่ไม่ผ่านการระบาดระลอกใหญ่ๆมาเหมือนกัน แล้วปล่อยให้มีกราฟสูงเป็นเส้นตรงดิ่งขนาดนี้ในประชากรจำนวนมหาศาล จะเกิดอะไรขึ้น นโยบาย Zero COVID จะเป็นอย่างไร...ให้กำลังใจให้ประเทศจีนยื้อสำเร็จครับ

"หมอมนูญ" เปิดเผยเจอแล้ว ผู้ป่วยติดเชื้อซ้ำ 3 ครั้ง 3 สายพันธุ์

 นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC พบผู้ป่วยโควิด-19 ติดเชื้อซ้ำ...