ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า แม้การติดเชื้อโอมิครอนมีอาการป่วยไม่รุนแรง แต่ก็มีความสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีน หรือภูมิคุ้มกันติดเชื้อครั้งก่อน ดีมากกว่าสายพันธุ์เดลตา รีวิว หนังใหม่
ดังนั้นในช่วงเวลา 3 สัปดาห์แรกนับจากเทศกาลปีใหม่ 2565 จะเริ่มมีจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อโอมิครอนไต่ระดับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าจะขยายเป็นวงกว้างพีกสูงสุดราวกลางเดือน ก.พ.นี้ที่จะเป็นตัวชี้วัดประเมินระดับสถานการณ์ความรุนแรงของการระบาดระลอกนี้ว่ามีโอกาสเข้ามาแทนสายพันธุ์เดลตาได้กี่เปอร์เซ็นต์
แล้วประเมินต่อว่า “ความรุนแรงโอมิครอนที่เกิดนี้” มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุ คนมีโรคประจำตัว หรือคนฉีดวัคซีนไม่ครบ รวมถึงผู้ได้รับการฉีดครบ 2 เข็มแต่เป็นนานกว่า 3-5 เดือนหรือไม่อย่างไร...?
ซ้ำร้ายเท่าที่ประเมินเบื้องต้นแบบเร็วๆ “ผู้ติดเชื้อโอมิครอน” น่าจะเกินหมื่นคนต่อวันแน่นอน เพราะการฉีดวัคซีนกระตุ้นขณะนี้ไม่อาจยับยั้งได้ เพียงแต่เป็นการหน่วงเวลาไม่ให้ติดเชื้อพร้อมกันมโหฬารทันทีทันใดเป็นหลักแสนคนต่อวัน เพราะในจำนวนนี้จะต้องมีคนที่ไม่ได้รับวัคซีนปะปนร่วมอยู่ด้วย
แม้แต่ได้วัคซีนแล้วแต่ตกอยู่ใน “กลุ่มสูงอายุ มีโรคประจำตัว” มักทำให้วัคซีนด้อยประสิทธิภาพลงแล้วมีอาการป่วยรุนแรงขึ้น สุดท้ายต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ที่ต้องได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจเพิ่มเป็นเงาตามตัวมากพร้อมกัน ส่งผลต่อระบบสาธารณสุขเกิดวิกฤติ หรือบุคลากรทางการแพทย์ทำงานหนักยิ่งขึ้นอีก
ยิ่งกว่านั้นในเวลานี้ “ผู้คนการ์ดตกหละหลวมการป้องกัน” ทำให้การติดเชื้อพุ่งสูงถึงหลักแสนคนต่อวันได้ไม่ยาก แม้ว่าทุกคนมีวินัยป้องกัน หรือฉีดวัคซีนประสิทธิภาพสูงก็ไม่อาจรอดจากการติดเชื้อโอมิครอนไปได้ เพราะมีการพิสูจน์แล้วว่า วัคซีนมาตรฐาน 3 เข็ม ป้องกันการติดโอมิครอนได้เพียง 40-70% ในระยะแรก 1 เดือน
นับแต่การฉีดเข็มสุดท้ายเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 2-3 ประสิทธิภาพในการป้องกันก็ลดลงเหลือ 40% ในที่สุด “ทุกคนต้องติดเชื้อโอมิครอน” เพียงแต่จะติดช้าหรือติดเร็วเท่านั้น อย่างเช่น “ประเทศอังกฤษ” ก็มีข้อมูลเป็นประสบการณ์ไม่ว่าผู้เคยฉีดวัคซีน หรือเคยติดโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมแล้วก็ยังติดเชื้อโอมิครอนใหม่ได้ด้วยซ้ำ
“ฉะนั้นแม้โอมิครอนมีความเสี่ยงต้องเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา 30% เสียชีวิตน้อยกว่า 60% แต่มีผลต่อคนสูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ที่จะได้รับผลกระทบเต็มๆ ดังนั้นการดึงหน่วงติดเชื้อจะช่วยโรงพยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขที่จะค่อยๆติดเชื้อตามไปด้วยพอมีเวลาหายใจหายคอกันได้บ้าง” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ว่า
ตอกย้ำว่า “วัคซีนยังช่วยลดอาการป่วยได้” ที่จะเป็นตัวสร้างภูมิต้านทานช่วยลดความรุนแรงในการติดเชื้อโอมิครอนนี้ แต่สิ่งที่ควรต้องระวัง “ที-เซลล์ภูมิต้านทานโควิด-19” ที่เป็นหน่วยความจำจากการติดเชื้อตามธรรมชาติหายดีแล้วจะสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันขึ้นมาเป็นตัวป้องกันอาการรุนแรงมักจะหายหมดในเวลา 6 เดือน
ตามข้อมูลก่อนหน้านี้เคยมี “ทดสอบความทรงจำที-เซลล์” ด้วยการฉีดวัคซีน 2 เข็ม และวัคซีนกระตุ้นแบบไขว้อีก 1 เข็มให้ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ปรากฏว่า วัคซีนไม่สามารถกระตุ้นที-เซลล์ตื่นขึ้นมาในการทำหน้าที่หาเซลล์ติดเชื้อ หรือเชื้อโรค เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกไปจากร่างกายได้ด้วยซ้ำ
หนำซ้ำ “ภูมิคุ้มกันธรรมชาติจากการติดเชื้อสายพันธุ์เก่า” ที่นับว่าเป็นภูมิคุ้มกันดีที่สุดกลับไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ที่เกิดการระบาดใหม่ได้ เพราะรหัสพันธุกรรมไวรัสแตกต่างกัน แต่ในส่วนการยับยั้งอาการป่วยต้องขึ้นอยู่กับ “ความจำที-เซลล์” ที่ยังมีความสามารถในการจดจำเป้าหมาย
ทำให้เซลล์ชนิดนี้สามารถตอบสนองกับเชื้อโรคตัวเดิมที่เคยเจอก็จะกำจัดทิ้งได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าร่างกายมี “ที-เซลล์” อยู่ในสภาพนอนหลับปลุกไม่ตื่น ก็ไม่อาจจำกัดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่เข้าสู่ร่างกายได้เช่นเดิม
ดังนั้น เวลาการพูดว่า “ที-เซลล์ช่วยสร้างภูมิต้านโอมิครอนเมื่อไวรัสหลบเลี่ยงแอนติบอดี” อาจจำเป็นต้องตรวจหาที-เซลล์หายไปหรือไม่ แล้วยังสามารถกระตุ้นการทำหน้าที่มีประสิทธิภาพระดับใด เพราะโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ครั้งนี้ มีทั้งสายพันธุ์โอมิครอนปะปนสายพันธุ์เดลตารวมอยู่ด้วยกัน
ด้วยหลักการ “เดลตา” มักมีอาการติดเชื้อหนักแต่แพร่ระบาดช้ากว่า “โอมิครอน” ที่มีอาการป่วยเบาบางกว่าแต่แพร่กระจายเชื้อง่ายได้เร็ว ดังนั้นภาวนาว่า “คงไม่มีตัวใหม่แตกหน่อออกมาเพิ่มขึ้นอีก” ที่เป็นไวรัสควบรวมเก่งทั้งการระบาดเร็วและอาการหนักได้พร้อมกัน เรื่องนี้ต้องเฝ้าติดตามกันใน 6 สัปดาห์นับจากปีใหม่เป็นต้นไปนี้
No comments:
Post a Comment