Saturday, January 29, 2022

ผวาคลัสเตอร์โควิด ส.ส.สภาฯ ภูมิใจไทยติดเชื้อ 9 คน พปชร 1 คน

 ส่อวุ่น! สภาฯ ผวาคลัสเตอร์ ส.ส.ภูมิใจไทย ติดเชื้อ 9 คน ชวน รับทราบแล้ว ยังยืนยันประชุม 2-4 ก.พ.นี้ ขณะอีกราย "สัมฤทธิ์" ส.ส.ชัยภูมิ "พปชร." ติดโควิดด้วย พบเข้าร่วมประชุมสภาฯ ด้วย รีวิวการ์ตูนอนิเมะ



วันที่ 30 ม.ค. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สภาผู้แทนราษฎรมีการแจ้งเวียนภายในหน่วยงานของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เมื่อช่วงค่ำวันที่ 29 ม.ค. ถึงกรณีที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเริ่มจาก นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย ว่า พบเป็นการติดเชื้อแบบกลุ่มก้อน โดยมี ส.ส.ที่แจ้งยืนยันการติดเชื้อแล้ว 9 คน และขอให้สำนักงานเลขาธิการสภาฯ ให้ความร่วมมือสืบสวนโรค ทั้งนี้ นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาฯ ได้แจ้งให้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ได้รับทราบแล้ว เบื้องต้นนายชวนให้ดำเนินการประชุมสภาฯ ตามกำหนดเดิมคือวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์


ทั้งนี้ สำนักบริการทางการแพทย์ได้สอบสวนโรค และแจ้งแนวปฏิบัติให้กับทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักกรรมาธิการทั้ง 3 สำนัก ให้สำรวจและแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องที่พบว่ามี ส.ส.จำนวน 8 รายเข้าร่วมประชุม เพื่อคัดกรองบุคคลที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง หรือเสี่ยงต่ำ และให้สำนักประชุมฯ ยกระดับการเข้าร่วมประชุมในห้องประชุมสภาฯ ตามที่เคยปฏิบัติในห้วงการแพร่ระบาดสูง จัดที่นั่งเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากตลอดเวลา ถอดหน้ากากได้เมื่ออภิปรายในโพเดียม คนที่มีความเสี่ยงต้องตรวจ ATK ก่อนเข้าห้องประชุม

ขณะที่สำนักรักษาความปลอดภัย ทำความสะอาดฆ่าเชื้อในทุกพื้นที่ที่ ส.ส.ติดเชื้อโควิดเข้าไปใช้ และสำนักการคลัง ควบคุมกำกับ การให้บริการอาหารแก่สมาชิกในสถานการณ์แพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมา โดยในช่วงกระทู้ถามสด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมตอบกระทู้ถามสด และมี ส.ส.ของพรรคภูมิใจไทย รวมถึง นายสิริพงศ์ ที่พบว่าเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยมีผลยืนยันวันที่ 28 มกราคม ร่วมประชุมด้วย ขณะที่ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม พบว่า นายอนุทิน และ ส.ส.ของพรรคภูมิใจไทย ร่วมยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กัญชา กัญชง พ.ศ. …. ต่อนายชวนด้วย



อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า นายสัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ ส.ส.ชัยภูมิ พรรคพลังประชารัฐ ได้โพสต์เฟซบุ๊กแจ้งว่าติดเชื้อโควิด-19 ว่า “ขอโทษพี่น้องทุกคนนะครับ กระผมต้องพักงานประมาณ 14 วัน พยายามป้องกันตัวเองแล้ว แต่ด้วยภาระหน้าที่ การเดินทางต่อเนื่อง ทำให้ได้รับเชื้อ covid ตอนนี้รักษาตัวที่โรงพยาบาลครับ แต่ยังสามารถรับเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียนได้ทาง Facebook และ LINE OA ตลอดเวลาครับ ห่วงใยทุกท่าน ขอให้รักษาสุขภาพกันทุกคนนะครับ


โดยเบื้องต้น ไทม์ไลน์ระบุว่า เมื่อ 26/1/65 ไม่มีอาการ ได้ตรวจ ATK ก่อนเข้าประชุมสภาฯ ไม่พบเชื้อ, 27/1/65 มีอาการแสบคอเล็กน้อย ไม่ไอไม่จาม ได้ตรวจ ATK ก่อนเข้าประชุมสภาฯ ไม่พบเชื้อ, 28/1/65 มีอาการไอ้เล็กน้อย อาการแสบคอลดลงเกือบเป็นปกติ แต่ได้ตรวจ RT-PCR ที่โรงพยาบาล พบเชื้อ และเข้ารับการรักษาทันที (เริ่มกินยาตามแพทย์สั่งเวลา 20.00 น.), 29/1/65 อาการไอ จาม.

Sunday, January 23, 2022

กทม ติดโอมิครอนทะลุพัน เสียชีวิตเพิ่ม 13 ศพ

 ศบค. รายงานสถานการณ์โควิดวันนี้ 24 ม.ค. 65 ติดเชื้อ 7,139 ราย เสียชีวิต 13 ศพ มาจากต่างประเทศ 195 ราย กรุงเทพฯ ติดเชื้อวันนี้ 1,130 ราย อยู่ระหว่างรักษาตัว 82,485 ราย

ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย



วันที่ 24 ม.ค. 2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้


ติดเชื้อในประเทศ 6,924 ราย

ติดเชื้อในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 20 ราย

ติดเชื้อจากต่างประเทศ 195 ราย

รักษาหายเพิ่มขึ้น 8,100 ราย

หายป่วยสะสม 2,280,109 ราย (ตั้งแต่ปี 2563)




อยู่ระหว่างรักษาตัว 82,485 ราย แบ่งเป็น ในโรงพยาบาล 38,874 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 43,611 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนัก 550 ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 114 ราย

มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 13 ศพ

ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 22,045 ศพ (ตั้งแต่ปี 2563)

ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 2,384,639 ราย

ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 26 ของโลก

Saturday, January 22, 2022

ยอดผู้ติดโอมิครอนกรุงเทพทะลุ 1,150 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 7,686 ราย

 ศบค. รายงานสถานการณ์โควิดวันนี้ 23 ม.ค. 65 ติดเชื้อ 7,686 ราย เสียชีวิต 13 ศพ มาจากต่างประเทศ 186 ราย กรุงเทพฯ ติดเชื้อวันนี้ 1,150 ราย อยู่ระหว่างรักษาตัว 83,459 ราย

ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย



วันที่ 23 ม.ค. 2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้


ติดเชื้อในประเทศ 7,445 ราย

ติดเชื้อในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 55 ราย

ติดเชื้อจากต่างประเทศ 186 ราย

รักษาหายเพิ่มขึ้น 7,445 ราย

หายป่วยสะสม 2,272,009 ราย (ตั้งแต่ปี 2563)


อยู่ระหว่างรักษาตัว 83,459 ราย แบ่งเป็น ในโรงพยาบาล 40,291 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 43,168 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนัก 564 ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 122 ราย


โควิด-19ติดตาม

23 ม.ค. 65

โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ เตือน อย่าชะล่าใจ ตรุษจีน "โอมิครอน" อาจพุ่งสูง


23 ม.ค. 65

นายกฯ ห่วง "โอมิครอน" ระบาดช่วงตรุษจีน แนะเลี่ยงเดินทางโดยไม่จำเป็น


23 ม.ค. 65

โควิดวันนี้ 23 ม.ค. 65 ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7,686 เสียชีวิตเพิ่ม 13 ศพ

 

มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 13 ศพ

ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 22,032 ศพ (ตั้งแต่ปี 2563)

ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 2,377,500 ราย

ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 26 ของโลก


สำหรับผู้ติดเชื้อ 7,686 รายใหม่ แบ่งเป็นดังนี้

ผู้ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 7,384 ราย

ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 61 ราย

เรือนจำ/ที่ต้องขัง 55 ราย

ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 186 ราย


ขณะที่สถานการณ์ทั่วโลกนั้นวันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงถึง 2,795,993 รายต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตรวม 6,356 ศพ โดยติดเชื้อมากที่สุดยังเป็นสหรัฐอเมริกา มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ 312,314 ราย

ส่วนยอดการตรวจ ATK วันที่ 23 ม.ค. 65 ตามการรายงานของกระทรวงสาธารณสุข มียอดผู้ติดเชื้อเข้าข่ายจำนวน 2,074 ราย โดยจำนวนนี้ไม่รวมในการรายงานยอดผู้ติดเชื้อใหม่ซึ่งยืนยันผลด้วย RT-PCR

สำหรับ 5 อันดับจังหวัดผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 1,150 ราย สมุทรปราการ 688 ราย ภูเก็ต 412 ราย ชลบุรี 394 ราย และนนทบุรี 325 ราย.




Friday, January 21, 2022

นายกฯ ขอความร่วมมือประชาชนอย่าไปที่แออัดช่วงตรุษจีน หวั่นติดโอมิครอน

 นายกรัฐมนตรี ห่วงโอมิครอนระบาดช่วงตรุษจีน แนะประชาชนเลี่ยงเดินทางโดยไม่จำเป็น ลดแออัด เน้นปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A ย้ำสาธารณสุขคงระดับเตือนภัย ระดับ 4 รีวิว หนังใหม่




วันที่ 22 ม.ค. 65 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงการระบาดของโอมิครอนในช่วงตรุษจีน แนะประชาชนเลี่ยงเดินทางโดยไม่จำเป็น ลดแออัด ย้ำปฏิบัติตามมาตรการป้องกันแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 1 ก.พ. 65 ถือเป็นวันต้อนรับปีใหม่ของคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีน คาดว่า ภาพรวมเทศกาลตรุษจีนปีนี้ยังมีความคึกคัก เพราะเป็นเทศกาลเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ของคนไทยเชื้อสายจีน อย่างไรก็ตาม การฉลองเทศกาลตรุษจีนปีนี้ ต้องปรับรูปแบบกิจกรรมต่างๆ จากเดิมที่มีการรวมตัวของคนในครอบครัว ให้เน้นปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อภายในครอบครัวและชุมชน รวมทั้งให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการฉลองตรุษจีนทางออนไลน์มากขึ้น เพราะแม้ ศบค. จะผ่อนคลายมาตรการให้ดำเนินกิจกรรมกิจการได้ แต่กระทรวงสาธารณสุขยังคงระดับการเตือนภัย ระดับ 4 เหมือนเดิม

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังแนะประชาชนปฏิบัติตามคำแนะนำตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้


1) วันจ่าย : ควรวางแผนการซื้อและใช้เวลาให้สั้นที่สุด เลือกซื้อสินค้าสดใหม่จากแหล่งจำหน่ายที่เชื่อถือได้ เช่น ตลาดที่มีการประเมิน Thai Stop COVID 2 Plus หรือจากร้านค้าที่มีระบบออนไลน์ หากจับจ่ายในตลาดให้ปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่าง เลี่ยงจุดแออัด

2) วันไหว้ : ล้างวัตถุดิบให้สะอาด ปรุงอาหารสุกทุกเมนู หากทิ้งอาหารไว้นานหลายชั่วโมงให้อุ่นอาหารอีกครั้งก่อนนำมาบริโภค ลดการเผากระดาษ ใช้ธูปสั้นหรือธูปไฟฟ้า เลี่ยงการปักธูปลงในอาหารโดยตรง จัดสถานที่ให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก พร้อมทั้งสวมหน้ากากตลอดเวลาขณะที่ทำกิจกรรม

3) วันเที่ยว : ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ รักษาระยะห่าง เลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด เลือกใช้บริการจากสถานประกอบการ แหล่งท่องเที่ยวที่มีสัญลักษณ์ Thai Stop COVID 2 Plus หรือ SHA+ และเมื่อกลับถึงบ้านให้ทำความสะอาดร่างกายทันที


สำหรับจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่วันนี้ (22 ม.ค. 2565) ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวม 8,112 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 7,935 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 177 ราย หายป่วยกลับบ้าน 7,582 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 83,231 ราย เสียชีวิต 19 ราย ล่าสุดการให้บริการวัคซีน โควิด-19 สะสมอยู่ที่ 112,959,434 โดส เข็มที่ 1 ฉีดสะสม 52,018,470 โดส เข็มที่ 2 ฉีดสะสม 48,115,000 โดส เข็มที่ 3 ฉีดสะสม 12,043,108 โดส เข็มที่ 4 ฉีดสะสม 782,856 โดส

Thursday, January 20, 2022

ดร.สันต์ บอกคนไทย เตรียมบอกลา "โอมิครอน"

 ดร.สันต์ ใจยอดศิลป์ พูดถึงประเด็นโควิด-19 "โอมิครอน" ผ่านเว็บไซต์ drsant.com เผย โอมิครอน ถึงจุดพีคและกำลังเข้าสู่ขาลง และอาจจบเร็วเกินความคาดหมาย อัพเดตข่าวทั่วไป ข่าววันนี้ ข่าวด่วนทันใจ



"โอมิครอน" ขึ้นหัวหาดเมืองไทยตั้งแต่ 26 พย.2564 ค่อยสะสมกำลังจนเพิ่มจำนวนได้เท่าตัว (doubling time) ใน 4 วันตั้งแต่ 7 มค.2565 ซึ่งผมคาดหมายตามอัตราการเพิ่มในอังกฤษและแอฟริกาใต้ว่าเมื่อถึงวันนี้ (18 มค.2565) โอมิครอน จะเพิ่มได้วันละ 1 เท่าตัวจนเข้าแทนที่เดลตาและระบาดไปทั่วประเทศได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น นั่นคือข้อสันนิษฐานหรือการเดา


ส่วนข้อเท็จจริงละเป็นอย่างไร ณ วันนี้ในด้านอัตราการเข้าแทนที่เดลตารวดนั้นเร็วสมคาดจริง คือหลายวันก่อนหน้านี้ศูนย์แล็บที่จุฬาฯ เปิดเผยว่าผลตรวจเชื้อเป็น โอมิครอน มากกว่า 90% แล้ว และเมื่อวานนี้ศูนย์จีโนมทางการแพทย์รามาธิบดีก็เปิดเผยว่าที่ตรวจได้ตอนนี้เป็น โอมิครอน 97.1% (69/71) เดลต้า 2.8% (2/71)

ดังนั้น ค่อนข้างแน่ว่าใน กทม.โอมิครอนได้เข้าแทนที่เดลตาเกือบหมดแล้ว ในต่างจังหวัดนั้นสถานะการณ์แตกต่างกันไปตามพื้นที่ เมื่อ 2 วันก่อนผมเจอหน้า ผอ.ศูนย์แล็บที่มวกเหล็ก ท่านบอกว่าตอนนี้โอมิครอนเข้าแทนที่เดลตาได้มากกว่า 50% แล้ว ทั้งๆที่โอมิครอนเพิ่งมาที่นี่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้นเอง




ภาพใหญ่คือ โอมิครอนเข้าแทนที่เดลตาได้เกือบหมดแล้วใน กทม. ส่วนทั่วประเทศนั้นคงจะแทนที่ได้หมดตามมาในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทั้งหมดนี้เป็นไปตามความคาดหมาย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาฯ (นพ.ยง) ได้แสดงความเร็วของการที่โอมิครอนเข้าแทนที่เดลตาไว้เป็นกราฟที่เข้าใจง่าย ซึ่งผมขออนุญาตคัดลอกมาให้ชมตรงนี้



แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ อัตราการป่วย การเข้าโรงพยาบาล และอัตราตายต่อวันที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นจนถึงต้องตระเตรียมรับมือกันขึงขังนั้น เอาเข้าจริงๆอัตราป่วยเข้า รพ. และตายกลับมีอัตราคงที่ (plateau) มาหลายวันและเริ่มลดจำนวนลงในวันนี้ ซึ่งเป็นวันที่โอมิครอนได้เข้าแทนที่เดลตาได้เกือบหมดแล้ว โดยผมแสดงข้อมูลของ สธ. เป็นกราฟให้ดูข้างล่างนี้ 

ทำไมโอมิครอนไทยแลนด์ถึงได้น่ารักกว่าที่ยุโรป อเมริกา และแอฟริกาใต้ ตอบว่าไม่มีใครรู้ ได้แต่เดาเอาแบบมั้งศาสตร์ เช่น เป็นเพราะคนไทยได้วัคซีนซิโนแวคมาก่อน..มั้ง , เป็นเพราะอากาศเมืองไทยมันร้อน..มั้ง , เป็นเพราะระบบควบคุมโรคของไทยเจ๋งกว่าฝรั่ง..มั้ง , เป็นเพราะคนไทยมีนิสัยว่าง่ายใส่มาสก์กันหมด..มั้ง ฯลฯ

เหตุผลแท้จริงเป็นอย่างไรไปภายหน้าคงจะมีหลักฐานวิทยาศาสตร์โผล่มาให้เห็นเอง ตอนนี้เอาเป็นว่าโอมิครอนไทยแลนด์กำลังจะจบแล้ว การเดินทางท่องเที่ยวทำมาค้าขายในประเทศนั้นเดิมก็ทำกันได้อยู่แล้วและสามารถทำต่อไปได้แบบฉลุย แต่ว่าอย่าเพิ่งใจร้อนรีบเอาการ์ดลง หมายความว่าอยู่ห่าง ใส่หน้ากาก ล้างมือไว้ก่อนไม่เสียหลายส่วน การเดินทางและค้าขายระดับนานาชาตินั้นเราต้องรอดูเชิงของโลกทั้งใบเขาไปก่อนว่าเขาจะเอาอย่างไรกันแน่

ประเทศอย่างอังกฤษ อเมริกานั้นไม่มีปัญหาคือเขาผ่านพีคการติดเชื้อแบบเขย่าประเทศไปแล้ว จบแล้วเขาต้องรีบเปิดอ้าซ่าแน่นอน แต่ประเทศอย่างจีนผมเองก็ไม่เข้าใจเขาเหมือนกันว่าเขาจะเอาอย่างไรกับอนาคตเพราะถึงวันนี้เขายังใช้นโยบายโควิด 0% อย่างเข้มงวดอยู่เลย ดังนั้น ใครจะเดินทางท่องเที่ยวหรือค้าขายกับกับประเทศไหนก็ต้องดูเชิงประเทศนั้นไปแบบเดือนต่อเดือน 

Tuesday, January 18, 2022

“อนุทิน” เผย วัคซีนไฟเซอร์จะมาถึงไทย 26 มค. นี้

 “อนุทิน” เผย วัคซีนไฟเซอร์เด็กอายุ 5-11 ปี ลอตแรกถึงไทย 26 ม.ค.นี้ ก่อนเริ่มฉีดเด็ก 31 ม.ค. ชี้ สถานบันเทิง ผับ บาร์ ต้องปลอดภัยก่อนเปิด ส่วนการปรับลดระดับเตือนภัยโควิด รอปลัด สธ.ลงนาม รีวิวหนัง LGBT+ หญิงรักหญิง , ชายรักชาย



เวลา 11.30 น. วันที่ 19 ม.ค. 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงความคืบหน้าวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) สำหรับฉีดเด็กอายุ 5-11 ปี ว่า ได้รับการรายงานจาก นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ว่า วัคซีนเด็กลอตแรกหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จะเข้ามาถึงประเทศไทยวันที่ 26 ม.ค.นี้ จำนวน 3 ล้านโดส จาก 10 ล้านโดส ที่สั่งจองไว้ในเบื้องต้น เมื่อมาถึงจะสุ่มตัวอย่างให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจลอตรีลีสต์ (Lot Release) ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน


จากนั้นจะกระจายไปฉีดเด็ก เริ่มที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ก่อนเป็นแห่งแรก เพื่อเดินหน้าฉีดให้กับเด็กที่มีโรคประจำตัว ถือเป็นเด็กกลุ่มเสี่ยงก่อน ขณะเดียวกันจะกระจายไปยัง รพ. และโรงเรียนต่างๆ ซึ่งได้ประสานกระทรวงศึกษาธิการดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก รวมทั้งอาจประสานศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เป็นจุดฉีดร่วมด้วย พร้อมขอความร่วมมือผู้ปกครองให้พาบุตรหลานมาฉีดวัคซีนเพื่อความปลอดภัย ส่วนการตรวจ ATK ในกลุ่มเด็ก เป็นดุลยพินิจของผู้อำนวยการโรงเรียน เราไปก้าวก่ายไม่ได้ อย่างไรก็ตามการดำเนินการก็เพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่าย

นายอนุทิน กล่าวถึงการเปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ ว่า หากมีความปลอดภัยก็คงดำเนินการได้ทันที โดยเฉพาะมาตรการ COVID Free Setting ต้องเข้มแข็ง โดยส่วนตัวเห็นว่าต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและการควบคุมโรค หน่วยงานราชการก็ต้องหาวิธี สถานประกอบการก็ต้องปฏิบัติได้ ต้องฟังซึ่งกันและกัน หากเลือกได้ก็ต้องขันนอตเต็มที่เพื่อความปลอดภัย ส่วนการปรับลดระดับเตือนภัยโควิด-19 จากระดับ 4 เป็นระดับ 3 นั้น อยู่ที่ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขลงนามก็ประกาศได้ทันที

ทางด้าน นพ.โสภณ ระบุว่า การฉีดวัคซีนในเด็กจะเริ่มวันที่ 31 ม.ค.นี้ เพราะเมื่อวัคซีนมาถึงวันที่ 26 ม.ค. ต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบ และกระจายวัคซีนไปยัง รพ.ต่างๆ โดยวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กขนาด 1 ขวด บรรจุ 1.3 มิลลิลิตร และเมื่อผสมกับน้ำเกลือจะมีขนาด 2.6 มิลลิลิตร ทำให้วัคซีน 1 ขวด สามารถฉีดให้กับเด็กได้ถึง 10 คน คนละ 0.2 มิลลิลิตร บริษัทได้พัฒนาให้วัคซีนสามารถเก็บรักษาได้นานหลังผสมน้ำเกลือ ในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ จากเดิม 4 สัปดาห์.

กรมวิทย์ฯ เร่งให้คนฉีดวัคซีนเข็ม 3 แจง 2 โดสเอาโอมิครอนไม่อยู่

 อธิบดีกรมวิทย์ เผย วัคซีนโควิด 2 โดส ต้านทานโควิดสายพันธุ์โอมิครอนได้น้อย วอนประชาชนรีบไปฉีดเข็ม 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน รีวิวการ์ตูนอนิเมะ




วันนี้ (17 ม.ค.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยผลการทดสอบภูมิคุ้มกันวัคซีนสลับและวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ต่อไวรัสสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน ในภาพรวมพบว่า ภูมิคุ้มกันในเลือดลดลงเมื่อเจอกับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาทั่วโลกที่ระบุว่าภูมิคุ้มกันของวัคซีนจะลดลงเมื่อเจอกับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน โดยผลการทดสอบวัคซีนทั้ง 8 สูตรที่ใช้ในประเทศไทย (n=10) มีดังนี้


1. ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 201.90, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 11.63

2. ไฟเซอร์+ไฟเซอร์ : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 189.40, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 19.17

3. แอสตร้าเซนเนก้า+ไฟเซอร์ : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 388.20, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 21.21

4. ซิโนแวค+ไฟเซอร์ : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 581.10, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 21.70

5. แอสตร้าเซนเนก้า+แอสตร้าเซนเนก้า : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 226.90, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 23.81

6. ซิโนแวค+ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 368.10, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 71.64

7. แอสตร้าเซนเนก้า+แอสตร้าเซนเนก้า+ไฟเซอร์ : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 691.10, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 229.90

8. ซิโนแวค+ซิโนแวค+ไฟเซอร์ : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 729.30, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 282.50


สำหรับข้อมูลนี้เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดระยะเวลา 2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นเวลาที่ภูมิคุ้มกันขึ้นมาค่อนข้างดี โดยเป็นการหาระดับภูมิคุ้มกันแบบลบล้างฤทธิ์ (Neutralizing Antibody) ต่อเชื้อไวรัสจริงในห้องปฏิบัติการ BSL-3 โดยวิธี PRNT: Plaque Reduction Neutralization Test วัคซีนทุกสูตรทำให้ภูมิคุ้มกันแบบลบล้างฤทธิ์ ต่อเชื้อโอมิครอนลดลง แต่การฉีดเข็มกระตุ้นจะสามารถป้องกันไวรัสโอมิครอนได้ดี แต่การคงอยู่ของระดับภูมิคุ้มกันต้องติดตามตรวจในระยะต่อไป

อย่างไรก็ตาม วัคซีนทุกสูตรยังช่วยลดความรุนแรงและการเสียชีวิตของผู้ป่วยในทุกสายพันธุ์ จากการใช้งานจริง (Real World) และการฉีดวัคซีนยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะเข็มกระตุ้น (Booster Dose) เพื่อให้ภูมิคุ้มกันมากพอที่จะลดการแพร่การติดเชื้อ และการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้มากขึ้น

"การทดสอบภูมิคุ้มกันในครั้งนี้ทดสอบจากเลือดเท่านั้น โดยกลไกในการป้องกันเชื้อโรคในร่างกายมนุษย์ไม่ได้มีเพียงในน้ำเลือดเท่านั้น ต้องอาศัยเซลล์เม็ดเลือดขาวต่างๆ ในร่างกายด้วย" นพ.ศุภกิจ กล่าว

นอกจากนี้ กรมวิทย์ฯ ยังอยู่ระหว่างการศึกษา และหาตัวอย่างเลือดของสูตรไขว้ ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า ตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์ และอยู่ระหว่างการศึกษาว่า กรณีที่มีการติดเชื้อโอมิครอนแล้วจะมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันเดลตาหรือไม่

"อย่าเอาตัวเลขการทดลองของ รพ.ศิริราช กับของกรมวิทย์ฯ ไปเปรียบเทียบกัน เนื่องจากใช้วิธีทดสอบคนละแบบ ซึ่งจากการทดสอบจะเห็นได้ว่าวัคซีน 2 เข็ม ป้องกันโอมิครอนได้น้อยมาก ดังนั้น การฉีดวัคซีนเข็ม 3 จึงมีความจำเป็นในการเพิ่มภูมิเพื่อต่อสู้กับโอมิครอน จึงขอให้ประชาชนรีบไปรับวัคซีนเข็ม 3 ตามสถานบริการโดยเร็ว" นพ.ศุภกิจ ย้ำ

นพ.ศุภกิจ ยังกล่าวถึงการตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ว่า การตรวจ ATK แล้วเห็นว่าขีดมีสีเข้มจางต่างกันนั้น สามารถบอกถึงปริมาณของเชื้อได้ในเบื้องต้น ถ้าโปรตีนของเชื้อมีจำนวนมากก็จะขึ้นสีเข้มมาก แต่การจะวัดปริมาณออกมาเป็นจำนวนนั้นทำได้ค่อนข้างยาก

Saturday, January 15, 2022

สถิติ “โอมิครอน” ติดเชื้อ 1.5% หนัก 0.3% เสียชีวิต 0.1%

 นายแพทย์รุ่งเรือง รับ โอมิครอน น่ากังวลที่แพร่เชื้อเร็ว หากป้องกันไม่ดี มีโอกาสติดเชื้อสูง แต่ความรุนแรงน้อยกว่าเดลตา และอัลฟา พบเสียชีวิต 0.1% ป่วยหนัก 0.3% เข้า รพ. 1.5% ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย




วันที่ 14 มกราคม 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) ประธานคณะกรรมการ MIU กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์ การระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ในประเทศไทย ว่า จากข้อมูลทางสถิติที่ได้รับมาจนถึงวันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา สิ่งที่น่ากังวลคือ เชื้อสายพันธุ์นี้ แพร่เร็วมาก พบว่า ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโอมิครอน ที่ป้องกันตนเองไม่ดี 10 คน จะติดเชื้อ 9-10 คน นับว่าเป็นอัตราการติดเชื้อที่สูงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ ในส่วนของความรุนแรงของโรค พบว่าน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้มาก ทั้งเดลตา และอัลฟา

จากการติดเชื้อ 1 พันคน จะพบ ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นในการรักษาที่โรงพยาบาล 10-15 คน หรือ 1-1.5% จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด ป่วยหนัก 2-3 คน หรือ 0.2-0.3% จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด และเสียชีวิต 1 คน หรือ 0.1% จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด


สำหรับ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ ไม่มีอาการ และมีอาการเล็กน้อยคล้ายไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทั้งนี้ มาตรการป้องกันตนเอง อาทิ ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่างยังช่วยป้องกันโรคได้ เช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังมีประสิทธิภาพ ป้องกันป่วยหนัก และเสียชีวิตอย่างน่าพอใจ ข้อพึงระวังคือ แม้ความรุนแรงของโรค จากข้อมูล จะอยู่ในระดับต่ำมาก แต่ไม่ควรประมาท เพราะเชื้อสายพันธุ์นี้ติดง่าย แพร่ง่าย กรณีถ้ามีคนติดเชื้อพร้อมกันมากๆ เข้า ก็ย่อมจะมีผู้ป่วยหนักเป็นจำนวนมากตามมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพองค์รวมได้

Wednesday, January 12, 2022

โอมิครอน แพร่กระจายเชื้อไปแล้วเกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศ

 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า แม้การติดเชื้อโอมิครอนมีอาการป่วยไม่รุนแรง แต่ก็มีความสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีน หรือภูมิคุ้มกันติดเชื้อครั้งก่อน ดีมากกว่าสายพันธุ์เดลตา รีวิว หนังใหม่


ดังนั้นในช่วงเวลา 3 สัปดาห์แรกนับจากเทศกาลปีใหม่ 2565 จะเริ่มมีจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อโอมิครอนไต่ระดับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าจะขยายเป็นวงกว้างพีกสูงสุดราวกลางเดือน ก.พ.นี้ที่จะเป็นตัวชี้วัดประเมินระดับสถานการณ์ความรุนแรงของการระบาดระลอกนี้ว่ามีโอกาสเข้ามาแทนสายพันธุ์เดลตาได้กี่เปอร์เซ็นต์

แล้วประเมินต่อว่า “ความรุนแรงโอมิครอนที่เกิดนี้” มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุ คนมีโรคประจำตัว หรือคนฉีดวัคซีนไม่ครบ รวมถึงผู้ได้รับการฉีดครบ 2 เข็มแต่เป็นนานกว่า 3-5 เดือนหรือไม่อย่างไร...?


ซ้ำร้ายเท่าที่ประเมินเบื้องต้นแบบเร็วๆ “ผู้ติดเชื้อโอมิครอน” น่าจะเกินหมื่นคนต่อวันแน่นอน เพราะการฉีดวัคซีนกระตุ้นขณะนี้ไม่อาจยับยั้งได้ เพียงแต่เป็นการหน่วงเวลาไม่ให้ติดเชื้อพร้อมกันมโหฬารทันทีทันใดเป็นหลักแสนคนต่อวัน เพราะในจำนวนนี้จะต้องมีคนที่ไม่ได้รับวัคซีนปะปนร่วมอยู่ด้วย

แม้แต่ได้วัคซีนแล้วแต่ตกอยู่ใน “กลุ่มสูงอายุ มีโรคประจำตัว” มักทำให้วัคซีนด้อยประสิทธิภาพลงแล้วมีอาการป่วยรุนแรงขึ้น สุดท้ายต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ที่ต้องได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจเพิ่มเป็นเงาตามตัวมากพร้อมกัน ส่งผลต่อระบบสาธารณสุขเกิดวิกฤติ หรือบุคลากรทางการแพทย์ทำงานหนักยิ่งขึ้นอีก


ยิ่งกว่านั้นในเวลานี้ “ผู้คนการ์ดตกหละหลวมการป้องกัน” ทำให้การติดเชื้อพุ่งสูงถึงหลักแสนคนต่อวันได้ไม่ยาก แม้ว่าทุกคนมีวินัยป้องกัน หรือฉีดวัคซีนประสิทธิภาพสูงก็ไม่อาจรอดจากการติดเชื้อโอมิครอนไปได้ เพราะมีการพิสูจน์แล้วว่า วัคซีนมาตรฐาน 3 เข็ม ป้องกันการติดโอมิครอนได้เพียง 40-70% ในระยะแรก 1 เดือน

นับแต่การฉีดเข็มสุดท้ายเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 2-3 ประสิทธิภาพในการป้องกันก็ลดลงเหลือ 40% ในที่สุด “ทุกคนต้องติดเชื้อโอมิครอน” เพียงแต่จะติดช้าหรือติดเร็วเท่านั้น อย่างเช่น “ประเทศอังกฤษ” ก็มีข้อมูลเป็นประสบการณ์ไม่ว่าผู้เคยฉีดวัคซีน หรือเคยติดโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมแล้วก็ยังติดเชื้อโอมิครอนใหม่ได้ด้วยซ้ำ

“ฉะนั้นแม้โอมิครอนมีความเสี่ยงต้องเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา 30% เสียชีวิตน้อยกว่า 60% แต่มีผลต่อคนสูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ที่จะได้รับผลกระทบเต็มๆ ดังนั้นการดึงหน่วงติดเชื้อจะช่วยโรงพยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขที่จะค่อยๆติดเชื้อตามไปด้วยพอมีเวลาหายใจหายคอกันได้บ้าง” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ว่า


ตอกย้ำว่า “วัคซีนยังช่วยลดอาการป่วยได้” ที่จะเป็นตัวสร้างภูมิต้านทานช่วยลดความรุนแรงในการติดเชื้อโอมิครอนนี้ แต่สิ่งที่ควรต้องระวัง “ที-เซลล์ภูมิต้านทานโควิด-19” ที่เป็นหน่วยความจำจากการติดเชื้อตามธรรมชาติหายดีแล้วจะสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันขึ้นมาเป็นตัวป้องกันอาการรุนแรงมักจะหายหมดในเวลา 6 เดือน

ตามข้อมูลก่อนหน้านี้เคยมี “ทดสอบความทรงจำที-เซลล์” ด้วยการฉีดวัคซีน 2 เข็ม และวัคซีนกระตุ้นแบบไขว้อีก 1 เข็มให้ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ปรากฏว่า วัคซีนไม่สามารถกระตุ้นที-เซลล์ตื่นขึ้นมาในการทำหน้าที่หาเซลล์ติดเชื้อ หรือเชื้อโรค เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกไปจากร่างกายได้ด้วยซ้ำ

หนำซ้ำ “ภูมิคุ้มกันธรรมชาติจากการติดเชื้อสายพันธุ์เก่า” ที่นับว่าเป็นภูมิคุ้มกันดีที่สุดกลับไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ที่เกิดการระบาดใหม่ได้ เพราะรหัสพันธุกรรมไวรัสแตกต่างกัน แต่ในส่วนการยับยั้งอาการป่วยต้องขึ้นอยู่กับ “ความจำที-เซลล์” ที่ยังมีความสามารถในการจดจำเป้าหมาย


ทำให้เซลล์ชนิดนี้สามารถตอบสนองกับเชื้อโรคตัวเดิมที่เคยเจอก็จะกำจัดทิ้งได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าร่างกายมี “ที-เซลล์” อยู่ในสภาพนอนหลับปลุกไม่ตื่น ก็ไม่อาจจำกัดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่เข้าสู่ร่างกายได้เช่นเดิม

ดังนั้น เวลาการพูดว่า “ที-เซลล์ช่วยสร้างภูมิต้านโอมิครอนเมื่อไวรัสหลบเลี่ยงแอนติบอดี” อาจจำเป็นต้องตรวจหาที-เซลล์หายไปหรือไม่ แล้วยังสามารถกระตุ้นการทำหน้าที่มีประสิทธิภาพระดับใด เพราะโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ครั้งนี้ มีทั้งสายพันธุ์โอมิครอนปะปนสายพันธุ์เดลตารวมอยู่ด้วยกัน

ด้วยหลักการ “เดลตา” มักมีอาการติดเชื้อหนักแต่แพร่ระบาดช้ากว่า “โอมิครอน” ที่มีอาการป่วยเบาบางกว่าแต่แพร่กระจายเชื้อง่ายได้เร็ว ดังนั้นภาวนาว่า “คงไม่มีตัวใหม่แตกหน่อออกมาเพิ่มขึ้นอีก” ที่เป็นไวรัสควบรวมเก่งทั้งการระบาดเร็วและอาการหนักได้พร้อมกัน เรื่องนี้ต้องเฝ้าติดตามกันใน 6 สัปดาห์นับจากปีใหม่เป็นต้นไปนี้

Tuesday, January 11, 2022

ติดเชื้อโอมิครอนสะสม 7,681 สูงสุดอยู่ที่ กทม.

  แพทย์หญิงสุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ในฐานะผู้ช่วยรองโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้ ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย



ติดเชื้อในประเทศ 7,681 ราย

ติดเชื้อในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 12 ราย

ติดเชื้อจากต่างประเทศ 277 ราย

รักษาหายเพิ่มขึ้น 3,350 ราย

หายป่วยสะสม 2,204,135 ราย (ตั้งแต่ปี 2563)


อยู่ระหว่างรักษาตัว 66,286 ราย แบ่งเป็น ในโรงพยาบาล 37,313 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 28,973 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนัก 480 ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 108 ราย

มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 19 ศพ

ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 21,869 ศพ (ตั้งแต่ปี 2563)


ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 2,292,290 ราย


ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 25 ของโลก


สำหรับผู้ติดเชื้อ 7,681 รายใหม่ แบ่งเป็นดังนี้





ผู้ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 7,282 ราย

ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 110 ราย

เรือนจำ/ที่ต้องขัง 12 ราย

ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 277 ราย


Monday, January 10, 2022

ไฟเซอร์ ปรับรับมือโอมิครอน พร้อมใช้ มีนาคมนี้

 อัลเบิร์ต บูร์ลา (Albert Bourla) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไฟเซอร์ ระบุว่า บริษัทได้เริ่มผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับสายพันธุ์โอมิครอนเป็นการเฉพาะ และคาดว่าจะพร้อมใช้งานเดือน มี.ค. นี้ โดย บูร์ลา ยืนยันว่าวัคซีนดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพต่อสู้กับสายพันธุ์อื่น ๆ ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้  นอกเหนือจากสายพันธุ์โอมิครอน ข่าวการเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทย

 



อย่างไรก็ตาม บูร์ลา ยอมรับว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าวัคซีนโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนมีความจำเป็นหรือไม่ แต่ไฟเซอร์จะเดินหน้านำวัคซีนนี้มาใช้งานแน่นอน



ขณะที่ สเตฟาน แบนเซล (Staphane Bancel)  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโมเดอร์นา ระบุว่า บริษัทกำลังพัฒนาวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิสำหรับการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เช่นกัน โดยคาดว่าจะเริ่มทดลงใช้งานกับอาสาสมัครได้เร็ว ๆ นี้ และตั้งเป้าว่าจะพร้อมใช้งานได้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง หรือ ประมาณเดือน ก.ย. ปีนี้ 

Sunday, January 9, 2022

"เดลตาครอน" โควิดสายพันธ์ใหม่รหะว่าง เดลตา-โอมิครอน

 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ลีออนดิโอส คอสตริกิส ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยไซปรัส ผู้คนพบไวรัสโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ ได้ตั้งชื่อไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่นี้ว่า “เดลตาครอน” เนื่องจากมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายโอมิครอนภายในจีโนมเดลตา อัพเดตข่าวทั่วไป ข่าววันนี้ ข่าวด่วนทันใจ




จนถึงขณะนี้ คอสตริกิส และคณะนักวิจัยของเขา ได้พบผู้ติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่นี้ 25 รายแล้ว แต่ระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้อีกหรือไม่ หรือผลกระทบที่เกิดจากไวรัสสายพันธุ์นี้เป็นอย่างไรบ้าง


"ในอนาคต เราจะได้เห็นว่า สายพันธุ์นี้จะเป็นไปทางโรคติดต่อทางพยาธิวิทยามากกว่า หรือจะเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น หรือจะเกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับสองสายพันธุ์ที่รุนแรง อย่าง เดลตา และโอมิครอน"


โดยบอกด้วยว่า คณะนักวิจัยได้วิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจจำนวน 25 รายการในไซปรัส หลังจัดลำดับพันธุกรรม 1,377 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการติดตามการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ในไซปรัส ความถี่ของการกลายพันธุ์มีแนวโน้มสูงในหมู่ผู้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งอาจแปรความได้ว่า เดลตาครอนมีความเชื่อมโยงกับการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ขณะนี้ เดลตาครอนยังไม่น่ากังวลแต่อย่างใด


ปัจจุบัน ไซปรัสกำลังเข้าสู่การระบาดของโควิด-19 เป็นระลอกที่ 5 ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงถึงวันละ 5,500 รายโดยประมาณ ขณะที่มีประชากรเพียงล้านคน

Saturday, January 8, 2022

“หมอยง” ประกาศยอดผู้ติดโอมิครอนน้อยกว่าของจริง

 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในไทยว่า จํานวนผู้ติดเชื้อที่รายงานโอมิครอนจะต่ำกว่าความเป็นจริงมากในทุกประเทศ เพราะการตรวจจะเป็นการตรวจเพียงว่าเป็นเชื้อโควิด-19 เท่านั้น ไม่ได้แยกสายพันธุ์




ในบางประเทศที่มีการตรวจเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ตรวจยีนอื่นพบ แต่ตรวจยีน S ไม่พบ ก็ถือว่าน่าจะเป็นโอมิครอน ในไทยการตรวจหาไวรัสโควิด-19 เกือบทั้งหมดไม่ได้มีการตรวจยีน S ร่วมด้วยการตรวจหาสายพันธุ์จำเป็นต้องใช้วิธีการจำเพาะในการตรวจ หรือถอดรหัสพันธุกรรม รีวิวหนัง LGBT+ หญิงรักหญิง , ชายรักชาย

คาดแทนที่เดลตาร้อยละ 30

ศ.นพ.ยงระบุด้วยว่า ตัวเลขแต่ละประเทศที่รายงานมาเป็นการตั้งใจตรวจหาสายพันธุ์ เมื่อดูอันดับการตรวจพบแล้วประเทศไทยอยู่ในอันดับต้นๆ ดังนั้นขณะนี้การที่บอกว่าตรวจพบ 3,000 ราย ไม่ใช่ตัวเลขที่แท้จริงที่มีการระบาดด้วยสายพันธุ์โอมิครอน เพราะมีผู้ป่วยอีกมากกว่าหลายเท่าที่ไม่ได้ตรวจ เช่นเดียวกันในเกือบทุกประเทศจะเป็นแบบนั้น การจะบอกได้ว่าขณะนี้การระบาดเป็นสายพันธุ์โอมิครอนมากน้อยแค่ไหนจะต้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 มาตรวจ แล้วดูอัตราเปอร์เซ็นต์ในการพบโอมิครอนกับสายพันธุ์เดลตา ขณะนี้ทางศูนย์ฯกำลังทำอยู่ แต่คงทำได้เฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น ขณะนี้เชื่อว่าโอมิครอน ได้เข้ามาแทนที่เดลตาเป็นจำนวนมากแล้วน่าจะเกินร้อยละ 30

Friday, January 7, 2022

ศบค.ประกาศผู้ป่วยไม่หนักให้รักษาเองที่บ้าน 7 มกราคม เริ่มแบ่งโซนสี

 ผู้นำเชื้อ “โอมิครอน” แพร่ในไทยมากที่สุด ส่วนร้านอาหารกึ่งผับบาร์เป็นแหล่งแพร่เชื้อกลุ่มก้อนแถมยังฝ่าฝืนมาตรการแอบเปิดขายตั้งแต่ก่อนปีใหม่ หวั่นจะทำให้ เกิดการแพร่ระบาดจำนวนมากเหมือนเคสสถานบริการ ย่านทองหล่อที่ทำไทยสะบักสะบอมจากโควิด-19 



ขณะที่โอมิครอนลามไป 55 จังหวัด ติดกว่า 2 พันคน หากปล่อยติดวงกว้างระบบสาธารณสุขจะรับมือไม่ทัน ศบค.เตรียมปรับมาตรการใหม่ในการประชุม 7 ม.ค. ชลบุรีสถานการณ์ยังหนักหน่วง “หมอสมศักดิ์” ชี้ระบาด รอบนี้คาดเด็กติดเยอะ แต่ยังมีเตียงว่างรองรับ ด้านหมอนิธิพัฒน์ค้านปล่อยการติดเชื้อตามธรรมชาติ

สถานการณ์ “โอมิครอน” ยังเป็นที่น่ากังวล แม้ว่าผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการป่วยไม่รุนแรงเท่าเชื้อโควิด สายพันธุ์เดลตา เนื่องจากมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นรวดเร็วในหลายจังหวัด และยังมีการคาดการณ์ว่าอาจมีผู้ติดเชื้อถึง 3 หมื่นต่อวัน

ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผอ.สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ผู้ช่วยรองโฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์โควิด-19 ในไทยประจำวันที่ 5 ม.ค.ว่า พบผู้ติดเชื้อใหม่ 3,899 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 3,662 ราย มาจากต่างประเทศ 169 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 19 ราย เป็นชาย 8 ราย หญิง 11 ราย เสียชีวิตมากที่สุดที่เชียงราย 4 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 21,769 ราย ขณะที่สถานการณ์โลกมียอดผู้ติดเชื้อสะสม 295,550,360 ราย เสียชีวิตสะสม 5,473,511 ราย เป็นไปตามการคาดการณ์ที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงแต่ผู้เสียชีวิตยังไม่เพิ่มขึ้นมาก


Thursday, January 6, 2022

โอมิครอนแพร่เชื้อได้ถึง 1 ต่อ 15 คน เป็นไวรัสติดง่ายอันดับสองรองจาก "หัด"

 น่ากลัวมากจริงๆสำหรับไวรัสกลายพันธ์โควิด-19 สายพันธ์โอมิครอน ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อจาก 1 คนสู่ 15 คน และติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว




วันที่ 6 ม.ค. 2565 ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า ข้อมูลทั่วโลกมีการวิเคราะห์พบเชื้อโอมิครอน เป็นไวรัสที่ติดต่อได้ง่ายที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากไวรัสหัด โดยคิดจากค่า R-naught (R0) เป็นการคำนวณความสามารถในการแพร่ระบาดโดยเฉลี่ยของโรค ซึ่งไวรัสหัดติดต่อกันได้ง่ายที่สุดในโลก มีค่า R-naught ประมาณ 15-18 ไวรัสไข้หวัดใหญ่สเปญ 1918 มีค่า R-naught ประมาณ 2-3 


สำหรับไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ดั้งเดิมอู่อั้น มีค่า R-naught ประมาณ 2.5 เดลตา มีค่า R-naught ประมาณ 6.5-8 ส่วนโอมิครอนมีค่า R-naught ประมาณ 8-15 หมายถึงผู้ติดเชื้อโอมิครอน 1 คน สามารถแพร่ติดต่อไปยังผู้อื่นอีก 8-15 คน แต่มีเงื่อนไขว่าคนเหล่านั้นไม่มีภูมิคุ้มกันเลย ไม่เคยติดเชื้อ และไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาเลย

ในส่วนของประเทศไทย เนื่องจากประชากรกว่า 70% ฉีดวัคซีนไปแล้ว และส่วนหนึ่งมีการติดเชื้อตามธรรมชาติ ค่า R-naught โอมิครอนในไทยอาจเทียบเท่าเดลตา 6-8 คน ค่า R-naught จึงไม่ตายตัว เปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยภูมิคุ้มกันของเราที่ได้รับจากการฉีดวัคซีน และการติดเชื้อตามธรรมชาติที่เราไม่รู้ตัวได้   

ทั้งนี้ เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ที่ผู้ติดเชื้อจะพุ่งเป็นหลักหมื่น หลังจากที่ประเทศไทยเข้าสู่การระบาดระลอกที่ 5 ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าวว่า เป็นไปได้ ดูจากที่ รพ.รามาธิบดี ที่มีการสวอป RT-PCR นำเชื้อมาตรวจมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น พอ PCR เป็นผลบวกจะส่งมาที่ศูนย์จีโนมฯ ตรวจหาสายพันธุ์พบเป็นเดลตากับโอมิครอนสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งจากเดิมมีการส่งตรวจน้อยมาก สัปดาห์หน้าอาจจะมีมากขึ้น


ขณะเดียวกัน จำนวนสิ่งส่งตรวจจากภายนอก รพ.ต่างๆ ที่ส่งเข้ามาให้ศูนย์จีโนมฯ ตรวจก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น ช่วงที่เดลตาขาลงมีการส่งตรวจประมาณ 200 ตัวอย่างต่อวัน พบผลบวก 1-2% เท่านั้น แต่ตอนนี้เพิ่มเป็น 500-600 ตัวอย่างต่อวัน เป็นผลบวกถึง 30-40% ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นโอมิครอน ดังนั้นจึงต้องระวัง และยังต้องคำนึงถึงสายพันธุ์เดลตาด้วย เนื่องจากโอมิครอนอาจจะไม่มีอาการรุนแรง แต่หากมีเดลตาแฝงมาด้วย แนวทางการรักษาก็อาจจะต่างกัน


โดยเฉพาะการรักษาตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation-HI เพราะการตรวจ PCR ไม่ได้เป็นการตรวจสายพันธุ์อะไร ผู้ติดเชื้อจึงยังมีเดลตาแฝงมาด้วย เมื่อก่อนการรักษาจะเหมือนกัน แต่คราวนี้ รพ.หลายแห่งส่งสิ่งส่งตรวจมาให้ที่ศูนย์จีโนมฯ ตรวจสายพันธุ์ เนื่องจากมีแนวทางการรักษาไม่เหมือนกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ บางคนมองว่าการรักษาไม่ต่างกัน แต่บางคนก็มีแนวทางรักษาที่ต่างกัน การตรวจหาสายพันธุ์จึงควบคู่กับการนำไปใช้ในการรักษาและเวชปฏิบัติที่ต่างกัน.

Wednesday, January 5, 2022

โอมิครอนกระจายเชื้อเร็วมาก คิดเป็น 95% ของผู้ติดเชื้อในสหรัฐ

 โมเดลหนึ่งของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) พบว่า ตัวกลายพันธุ์โอมิครอนมีสัดส่วนคิดเป็น 95% ของเคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ดำเนินการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งหมดในสหรัฐฯ ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้นจากระดับ 77% ในตัวเลขแก้ไขของหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้น




ก่อนหน้านี้ ซีดีซีประมาณการว่าตัวกลายพันธุ์โอมิครอนมีสัดส่วนคิดเป็น 58.6% ของเคสผู้ติดเชื้อใหม่ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ธันวาคม


การประมาณการของซีดีซีเป็นการคาดคะเนจากระดับความชุกของตัวกลายพันธุ์บนพื้นฐานของข้อมูลถอดรหัสพันธุกรรม แต่มันมีความผันผวน และมีการปรับแก้ตัวเลขแต่ละสัปดาห์บ่อยครั้ง เนื่องจากหน่วยงานแห่งนี้ได้มีการรวบรวบตัวอย่างเพิ่มเติมจากทั่วประเทศ


ด้วยโอมิครอนกำลังแผ่ขยายยึดครองสหรัฐฯ มากขึ้นเรื่อยๆ จากโมเดลดังกล่าวพบว่าเวลานี้มันกลายเป็นสายพันธุ์หลักในทุกภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เข้าแทนที่ตัวกลายพันธุ์เดลตา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสายพันธุ์หลักและโหมกระพือเคสผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นทั่วประเทศเมื่อปีก่อน ขณะที่ปัจจุบันตัวกลายพันธุ์เดลตา มีสัดส่วนคิดเป็นเพียงแค่ 4.6% ของเคสผู้ติดเชื้อที่ดำเนินการถอดสหัสพันธุกรรม




โอมิครอนถูกพบเป็นครั้งแรกในแอฟริกาใต้ และถูกองค์การอนามัยโลกขึ้นบัญชีในฐานะ "ตัวกลายพันธุ์ที่น่ากังวล" ในเดือนพฤศจิกายน และหลังจากถูกตรวจพบในแคลิฟอร์เนียเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม นับตั้งแต่นั้นมันก็แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วสหรัฐฯ


เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหรัฐฯ กำลังทำงานอย่างหนักในการจับตาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโอมิครอน และเร่งเร้าประชากรวัยผู้ใหญ่ทุกคนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น


เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เรียกร้องบรรดาผู้ให้บริการด้านการแพทย์ขยายการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 และเข็มกระตุ้น ในความพยายามสกัดตัวกลายพันธุ์โอมิครอนและต่อสู้กับระลอกการแพร่ระบาดช่วงฤดูหนาว


อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ พบเคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่รายวัน มากกว่า 1 ล้านคนเมื่อวันจันทร์ (3 ม.ค.) จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอห์นส ฮ็อปกินส์ ในขณะที่ตัวกลายพันธุ์โอมิครอนยังคงระบาดในอัตราที่รวดเร็วมาก


นายแพทย์แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงด้านโรคติดเชื้อสหรัฐฯ เตือนในวันพุธ (5 ม.ค.) ว่าอย่าชะล่าใจเกี่ยวกับตัวกลายพันธุ์โอมิครอน โดยระบุเคสผู้ติดเชื้อจำนวนมากอาจก่อความตึงเครียดแก่สถานพยาบาลทั้งหลาย แม้มีสัญญาณว่ามันก่ออาการเจ็บป่วยเบากว่าก็ตาม


"โอมิครอนจะยังคงก่อความตึงเครียดแก่ระบบสถานพยาบาลของเรา สืบเนื่องจากสัดส่วนปริมาณมหาศาลของเคสผู้ติดเชื้อ ไม่สำคัญว่ามันจะรุนแรงแค่ไหน" เฟาซีบอกกับผู้สื่อข่าวระหว่างแถลงข่าวที่ทำเนียบขาว


ค่าเฉลี่ย 7 วันของเคสผู้ติดเชื้อรายใหม่ในสหรัฐฯ แตะระดับ 540,000 คนต่อวัน สูงสุดเป็นวันที่ 8 ติดต่อกันในวันอังคาร (4 ม.ค.) คนไข้โควิด-19 ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เพิ่มขึ้น 45% ในช่วง 7 วันหลังสุด อยู่ที่ราวๆ 111,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่เคยพบเห็นมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2021

Tuesday, January 4, 2022

โอมิครอนระบาดหนัก ผู้ป่วยสะสม 2,062 ราย หมอบุญชี้อาจติดทุกคน

 โอมิครอนกระจาย 54 จังหวัดทั่วประเทศ ติดเชื้อแล้วกว่า 2 พันคน กทม.ทำสถิติอีกติดมากสุดกว่า 500 คน พบสัญญาณติดเชื้อเพิ่มจากเทศกาลปีใหม่ กระทรวงสาธารณสุขสั่ง สสจ.สำรวจร้านอาหารกึ่งผับบาร์ละเมิดกฎและสั่งดำเนินคดีร้านที่ฝ่าฝืน ขอเวลา 1 เดือนประเมินสถานการณ์อาจต้องปิดสถานบันเทิงอีกรอบ 



“หมอมนูญ” ชี้ไทยกำลังจะเข้าสู่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ครั้งใหญ่สุดในรอบ 2 ปี หลังหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ ตัวเลขติดเชื้อจะก้าวกระโดดหลายหมื่นคนต่อวัน เอกชนโวยให้นักท่องเที่ยวเข้าไทยภายใน 10 ม.ค.65 ทำภาคเอกชนที่รับเงินมาแล้วตายอย่างเดียว ทั้งยังทำให้เกิดความเสียหายและกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศอย่างมาก นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุยชี้บังคับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้าไทยตามกำหนดไม่ได้ ย้ำให้รัฐหันมาแก้ไขระบบติดตามตัวนักท่องเที่ยวดีกว่า ขณะที่ภูเก็ตขอรวมเกาะในกระบี่ พังงา เป็นอันดามันแซนด์บ็อกซ์ สหรัฐอเมริกาติดเชื้อวันเดียว 1 ล้านคนทำสถิติสูงสุดของโลก “ลำไย ไหทองคำ-ธนาธร-แจม เนโกะจัมพ์” ติดโควิด



“โอมิครอน” จะเอาอยู่หรือไม่หลังลามระบาดหนักทั่วประเทศ โดยพบผู้ป่วยสายพันธุ์นี้กว่า 2 พันรายแล้ว ขณะที่หลายจังหวัดจัดให้มีการตรวจ ATK ในวันแรกของการเข้าทำงานหลังหยุดยาวเทศกาลปีใหม่

Monday, January 3, 2022

เชียงใหม่พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนเพิ่ม 22 ราย

 "เชียงใหม่" พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนแล้ว 22 ราย "พ่อเมือง" สั่งเปิด ATK DAY ให้ตรวจข้าราชการ พนักงานทั้งศาลากลางจังหวัด วันแรกหลังหยุดยาวปีใหม่ พร้อมออก 2 คำสั่งรับมาตรการป้องกัน



เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 65 ดร.ทรงยศ คำชัย หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในจังหวัดเชียงใหม่ ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อสะสมแล้ว 22 ราย จากการสอบสวนโรคพบว่า ติดเชื้อมาจากนอกพื้นที่ 11 ราย ติดเชื้อในจังหวัด 11 ราย ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดและได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อตามระบบ Test & Go รองลงมาคือผู้สัมผัสป่วยยืนยัน ผู้ป่วยร่วมบ้าน รับประทานอาหารร่วมกันไม่ใช้ช้อนกลาง นั่งรถคันเดียวกันไม่สวมหน้ากากอนามัย เที่ยวสถานบันเทิงและร่วมงานปาร์ตี้


ทั้งนี้หากการสอบสวน ป้องกัน ควบคุมโรคไม่ครอบคลุม อาจมีการแพร่ระบาดในจังหวัดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพราะเชื้อดังกล่าวมีศักยภาพในการแพร่เชื้อค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มการระบาดได้อย่างรวดเร็วและขยายเป็นวงกว้าง จึงขอความร่วมมือองค์กรและสถานประกอบการทุกแห่ง ปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสถานที่เสี่ยงระบบปิด เช่น ร้านอาหารที่เป็นห้องปรับอากาศ สถานที่แออัด พนักงานจะต้องฉีดวัคซีนให้ครบถ้วน รวมถึงต้องสุ่มตรวจ ATK เป็นระยะ และคัดกรองลูกค้าก่อนรับบริการ รักษาระยะห่าง ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าดำเนินการได้ดี แต่ยังพบบางแห่งไม่ปฏิบัติตามมาตรการ

"หมอมนูญ" เปิดเผยเจอแล้ว ผู้ป่วยติดเชื้อซ้ำ 3 ครั้ง 3 สายพันธุ์

 นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC พบผู้ป่วยโควิด-19 ติดเชื้อซ้ำ...